• Aug 9 2024 - 11:38
  • 30
  • : Less than one minute
ปลัดพาณิชย์ จับมือ 8 หน่วยงาน สกัดสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐาน-ละเมิดลิขสิทธิ์ทะลักไทย

ปลัดพาณิชย์ จับมือ 8 หน่วยงาน สกัดสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐาน-ละเมิดลิขสิทธิ์ทะลักไทย

วุฒิไกร ปลัดพาณิชย์ เชิญ 8 หน่วยงานสำคัญร่วมหามาตรการดูแลสินค้านำเข้าจากต่างประเทศไหลทะลัก ทั้งรูปแบบออนไลน์-ออฟไลน์ เล็งตรวจสอบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบภายใน 1-2 วัน และสั่งกรมศุลกากรเช็ก 10 รายสินค้านำเข้าด้วย

วันที่ 8 สิงหาคม 2567 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานประชุมเพื่อหารือกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานราคาต่ำเปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญ 8 หน่วยงานสำคัญ

อาทิ กระทรวงการคลัง, กระทรวงดิจิทัลฯ (ดีอีเอส), กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงสาธารณสุข, กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เพื่อหารือและพิจารณาถึงผลกระทบของผู้บริโภค และผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและสินค้าที่เข้ามาได้มาตรฐานหรือไม่

ทั้งนี้ จากการประชุมหารือได้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อติดตามการจำหน่ายสินค้า รวมไปถึงมาตรฐานและการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ โดยจะเริ่มจากการค้าออฟไลน์ และภายใน 1-2 วันนี้จะลงพื้นติดตามการจำหน่ายสินค้าของร้านค้า หรือแหล่งจำหน่ายที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ที่กระจายขายทั่วกรุงเทพฯ เพื่อตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

ตั้งแต่การจดทะเบียนนิติบุคคล สินค้าได้รับมาตรฐานไหม สินค้ามีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ แรงงานมีใบอนุญาตไหม โดยหากพบมีการกระทำความผิด เจอดำเนินคดีภายใต้กฎหมายของแต่ละหน่วยงานทันที

ส่วนการค้าในรูปแบบออนไลน์ ได้ให้ศุลกากรนำส่งข้อมูล 10 รายการสินค้าสำคัญที่ไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย มีประเภทไหนบ้าง เพื่อจะได้ดูว่าสินค้าดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่

ทั้งนี้ จากการสุ่มตรวจเบื้องต้นของสินค้านำเข้าที่มาขายในไทย พบว่าคนขายบางคนไม่ใช่คนไทย และบางคนไม่มีวีซ่า ไม่มีใบอนุญาตแรงงาน, ไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์หรือนิติบุคคล ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จะทำงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ลงพื้นที่ตรวจสอบกระจายทั่วกรุงเทพฯ หากพบมีการกระทำผิดกฎหมายจะดำเนินคดีภายใต้กฎหมายของแต่ละหน่วยงาน

นายวุฒิไกรกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปศึกษาดู ว่ามีกฎหมายอะไรบ้างที่สามารถบังคับให้การจำหน่ายสินค้าออนไลน์จะต้องมีสำนักงานจำหน่ายสินค้าตั้งในประเทศไทยหรือไม่ เบื้องต้นได้ข้อมูลจากทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ว่ามีกฎหมายบังคับให้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ทุกประเภทต้องมาจดแจ้งให้ทราบ

ตามพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 มาตรา 18 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลดังต่อไปนี้เป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ขนาดใหญ่ หรือบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะ

อย่างไรก็ดี หากแพลตฟอร์มออนไลน์มีลูกค้าในไทยและมีการทำธุรกรรมทางทางการเงิน ผ่าน Electronic Transaction ในไทย แม้แพลตฟอร์มนั้นจะไม่ได้ตั้งอยู่ในไทย ก็น่าจะมีการออกมาตรการมาดูแลได้ เพราะในกฎหมายระบุว่า

หากบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลใดมีลักษณะเฉพาะและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ ความน่าเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสาธารณชน และมีผลกระทบในระดับสูงที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจของแพลตฟอร์มนั้น ก็จะสามารถใช้กฎหมายเข้ามาดูแลได้

สำหรับมาตรการที่จะออกมาจะเป็นการดูแลผลกระทบในระยะสั้นและระยะกลางก่อน โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายให้รัดกุมมากขึ้น สำหรับการดูปัญหาระยะยาว จะต้องมีการหารือกันต่อไป

https://www.prachachat.net/economy/news-1626273

بانکوک تایلند

بانکوک تایلند

เขียนความคิดเห็น.

:

:

:

: