เยี่ยมชมจิตรกรรมฝาผนังวัดเก่าแก่ที่มีเรื่องราวการไว้ทุกข์ท่านอิมามฮูเซ็น อ. ในประเทศไทย

  • สถานะเหตุการณ์ :
  • เริ่มเหตุการณ์ : Mar 28 2022
  • สิ้นสุดเหตุการณ์ : Jul 1 2022
  • : 50
เยี่ยมชมจิตรกรรมฝาผนังวัดเก่าแก่ที่มีเรื่องราวการไว้ทุกข์ท่านอิมามฮูเซ็น อ. ในประเทศไทย

เป็นเรื่องน่าทึ่งที่มีจิตรกรรมฝาผนังพิธีไว้ทุกข์ท่านอิมามฮูเซ็น อ.ในวัดเก่าแก่จังหวัดสงขลา ซึ่งฮะซันคอนีย์ อุปทูตวัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้เข้าเยี่ยมชมวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม และได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และผู้จัดการดูแลวัดแห่งนี้

เป็นเรื่องน่าทึ่งที่มีจิตรกรรมฝาผนังพิธีไว้ทุกข์ท่านอิมามฮูเซ็น อ.ในวัดเก่าแก่จังหวัดสงขลา ซึ่งฮะซันคอนีย์ อุปทูตวัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้เข้าเยี่ยมชมวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม และได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และผู้จัดการดูแลวัดแห่งนี้
ภาพวาดผนังตั้งอยู่ในห้องโถงสักการะของวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา ทางภาคใต้ของไทย รายละเอียดตามภาพซึ่งเกี่ยวกับพิธีไว้ทุกข์ของชาวชีอะฮ์ที่ไว้อาลัยต่อการถูกสังหารของ
ท่านอิมามฮูเซ็น (อ) ในวันอาชูรอ
 
การเยี่ยมชมและสนทนากับ พระโสภณวรากรณ์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ปฐมาวาสวัดเก่าแก่แห่งนี้ โดยมีท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเทศบาลเมืองสงขลา ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการได้เข้าเยี่ยมชมด้วยเช่นกัน
ท่านอุปทูตวัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ระหว่างการประชุม ได้กล่าวแสดงความยินดีเนื่องในวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมมัด ซล. และได้กล่าวขอบคุณทางเจ้าภาพ ตลอดจนผู้จัดการดูแลวัด ที่ได้เก็บรักษาผลงานอันล้ำค่านี้ไว้
 
 
ท่านอุปทูตวัฒนธรรมได้กล่าว ถึงสาระสำคัญของภาพวาดนี้ โดยชี้ถึงสาส์นแห่งการต่อสู้ในวันอาชูรอ ของท่านอิมามฮูเซ็น (อ)  และการถูกสังหารของท่านในการปกป้องศาสนาและซุนนะห์ของบรรพบุรุษของท่าน คือท่านศาสดามูฮัมหมัด ซล. และกล่าวเสริมอีกว่า
การมีอยู่ของผลงานชิ้นนี้ในสถานที่สักการะแห่งนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งของผู้จัดการดูแลวัดแห่งนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการถูกสังหารของท่านอิมามฮูเซ็น อ. ในวิถีแห่งศาสนาเพื่อมอบคุณค่าที่สูงส่งให้แก่มนุษย์
 
ผลงานนี้คือจุดเชื่อมต่อและคือการให้เกียรติต่อหลักการศาสนาเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณและความเชื่อทางศาสนาของประชาชนทั่วไป หวังว่าผลงานชิ้นนี้จะทำให้เข้าใจถึงความคล้ายคลึงกันของศาสนาต่างๆมากยิ่งขึ้น
พระโสภณวรากรณ์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ปฐมาวาส  กล่าวขอบคุณ ท่านอุปทูตวัฒนธรรม และกล่าวถึงวัดเก่าแก่แห่งนี้ว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้ว ซึ่งมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงระหว่างภาพนี้กับสถานที่สักการะแห่งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลโดยละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในภาพจิตรกรรมฝาผนังประวัติศาสตร์นี้ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนระดับประเทศโดยกรมโบราณคดีและอนุสรณ์สถานแห่งประเทศไทย ลวดลายต่างๆ เช่น สัญลักษณ์ไว้ทุกข์ ถือธงไว้ทุกข์ ดาบ ซุลฟิก็อร์ และสัญลักษณ์ห้าท่าน แสดงให้เห็นรูปแบบอย่างละเอียดในจิตรกรรมประวัติศาสตร์ที่พบได้ในภูมิภาคนี้
ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ที่ตั้งของภาพวาด ซึ่งอยู่ในห้องโถงใหญ่ของวัดนี้  2 รายละเอียดต่างๆ เช่น ใบหน้าของผู้ไว้ทุกข์ที่มีเคราของบุคคลที่ปรากฎในภาพวาดนี้ ซึ่งไม่ใช่คนไทย ทำให้ผู้จัดการดูแลวัด และผู้เชี่ยวชาญต่างประหลาดใจ 
 
หมายเหตุ :
1- จิตรกรรมฝาผนังอื่นๆ ที่มีเนื้อหาของพิธีกรรมทางศาสนาสามารถเห็นได้ในห้องโถงนี้ ซึ่งดูเหมือนจะสะท้อนถึงพิธีกรรมทางศาสนาของผู้คนในสมัยนั้น
2- ประวัติการอพยพของชาวอิหร่านผ่านท่าเรือประวัติศาสตร์ของเมืองชายฝั่งแห่งนี้ได้รับการบรรยายตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาและศึกษาเพิ่มเติม

 

:

:

:

: