มหาวิทยาลัยอุสาหกรรมญันดีชาพูร์เดซฟูล มรดกแห่งมหาวิทยาลัยอายุ 1,800 ปี
1,800 ปีที่แล้ว ในสมัยการปกครองของราชวงศ์ซาเซเนียนในอิหร่าน ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่ชื่อว่า "ญันดีชาพูร์" หรือ "กันดีชาพูร์" ซึ่งถือเป็นหนึ่งในศูนย์การศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมหาวิทยาลัยนี้เปิดสอนในหลายสาขา เช่น แพทยศาสตร์ ปรัชญา เทววิทยา และวิทยาศาสตร์ ในขณะนั้นยังได้ก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ซึ่งโรงพยาบาลนี้ถือเป็นศูนย์การแพทย์ที่สำคัญที่สุดในโลกในช่วงศตวรรษที่ 6 และ 7
หลายศตวรรษหลังจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้ถูกก่อตั้งขึ้นในเมืองเดซฟูล ใกล้กับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์ซึ่งในปัจจุบันมีชื่อว่า "มหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์เดซฟูล"
ประวัติมหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์เดซฟูล
ในปี 1972 มีการตัดสินใจสร้างศูนย์การศึกษาในเมืองเดซฟูล ซึ่งเจ้าหน้าที่มองว่าเป็นศูนย์การผลิตวิทยาศาสตร์ของอิหร่านโบราณ หลังจากนั้น 7 ปี มหาวิทยาลัยนี้เริ่มเปิดรับนักศึกษา โดยมีสี่คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การโจมตีจากอิรักในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่านทำให้กิจกรรมของมหาวิทยาลัยเกิดการหยุดชะงักในช่วงแรกๆ ของการเปิดดำเนินการ
ในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่านที่กินเวลานานถึง 8 ปี มหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์ทำหน้าที่เป็นศูนย์ดูแลผู้บาดเจ็บจากสงคราม หลังจากสงครามสิ้นสุดลงในปี 1988 มหาวิทยาลัยจึงเริ่มเปิดรับนักศึกษาอีกครั้งในสาขาวิชา "การบริหารงานก่อสร้าง" ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และในปี 1992 ก็ได้เปิดสาขา "เครื่องจักรกล" ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเช่นกัน
มหาวิทยาลัยได้ขยายอาคารและเพิ่มจำนวนสาขาวิชาและนักศึกษาในปีต่อๆ มา จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์เดซฟูลมี5คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมเครื่องกล คณะสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง และคณะวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งสองกลุ่มวิชาการ ได้แก่ วิศวกรรมเคมีและวิชาการอิสลาม มหาวิทยาลัยนี้มีนักศึกษามากกว่า 2,000 คนและถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมของอิหร่าน
กิจกรรมการวิจัยของมหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์
มหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์ มีศูนย์วิจัย3แห่งที่ถูกกำหนดในโครงสร้างของมหาวิทยาลัย ได้แก่ "ศูนย์วิจัยญันดีชาพูร์ "ศูนย์วิจัยนาโนชีววิทยาอาหาร" และ "สถาบันวิจัยน้ำ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม"
ในศูนย์วิจัยญันดีชาพูร์ โครงการต่างๆ ถูกออกแบบและดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย โดยศูนย์นาโนชีววิทยาจะมีกลุ่มวิจัยสองกลุ่ม คือ "นาโนชีววิทยาอุตสาหกรรมอาหาร" และ "การปรับปรุงพันธุ์พืชและการเกษตรศาสตร์โมเลกุล" ซึ่งมีเป้ามายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารในจังหวัด
หลักการวิจัยของสถาบันวิจัยน้ำ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมคือการทำวิจัยตามความต้องการของพื้นที่ การมีเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนเดซ เขื่อนกัรเคห์ เขื่อนเกอทอนด์ และเขื่อนชะฮีด อับบาสพูร์ ทำให้การวิจัยในศูนย์นี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการดำรงอยู่ของอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานและการควบคุมแหล่งน้ำในภูมิภาค วิจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงการจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงานทดแทน พลังงานใหม่ เทคโนโลยีการผลิตและการใช้พลังงาน การใช้พลังงานในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และการจัดการขยะ
เนื่องจากมีอุตสาหกรรมหลากหลายในมณฑลคูเซสตาน มหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์ จึงได้จัดตั้งสำนักงานภายใต้ชื่อ "การจัดการการเป็นผู้ประกอบการ การเติบโต และความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรม" ซึ่งมีภารกิจในการวางแผนการวิจัยที่นำไปใช้ได้จริงตามความต้องการของอุตสาหกรรม และสนับสนุนโครงการวิจัยและแนวคิดใหม่ๆ สำนักงานนี้ยังทำการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยกับอุตสาหกรรมและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
อีกหนึ่งศูนย์ที่มีความเคลื่อนไหวในมหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์ คือ "ศูนย์การเป็นผู้ประกอบการ" ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักในการสนับสนุนบัณฑิตของมหาวิทยาลัยในการสร้างธุรกิจ โดยศูนย์นี้จะให้คำปรึกษาทางยุทธศาสตร์และสนับสนุนทางการเงินแก่แนวคิดใหม่ๆ เพื่อช่วยเหลือบัณฑิตในการเริ่มต้นธุรกิจ
มหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์เดซฟูลยังได้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ โดยมีการลงนามในข้อตกลงการรับนักศึกษากับศูนย์การศึกษากับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นหนึ่งในความพยายามของมหาวิทยาลัยในการทำให้การศึกษาของตนมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น เพื่อบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษาของต่างประเทศ มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสำนักงาน "กิจการระหว่างประเทศ" ขึ้น หนึ่งในข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยญันดีชาพูร์เดซฟูลคือความใกล้ชิดกับพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษานานาชาติ
มหาวิทยาลัยอุสาหกรรมญันดีชาพูร์เดซฟูล มรดกแห่งมหาวิทยาลัยอายุ 1,800 ปี | |
42418500-061 | |
061-42418500 | |
https://en.jsu.ac.ir/ |