ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ผู้อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์

คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ผู้อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์

คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ผู้อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์

คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ถือเป็นนักประพันธ์ นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะ นักดาราศาสตร์ และเป็นหนึ่งในนักวิชาการชาวอิหร่านที่โดดเด่นที่สุดในโลกอิสลาม และเป็นหนึ่งในนักกฎหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นผู้ขยายวิชาตรีโกณมิติในวิชาคณิตศาสตร์ เขาเกิดที่เมืองญะห์รูด ซาเวห์ ฉายาของคอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ คือ "อุสตาดุลบาชัร"  "อักล์ ฮาดีอาชัร" และ "มุอัลลิมซาลิซ" บิดาของเขา มูฮัมหมัด บิน ฮาซัน เป็นหนึ่งในฟุกอฮาอ์ นักวิชาการ คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ศึกษาวิชาการศาสนาและวรรณกรรมจากบิดาของเขา จากนั้นจึงศึกษาวิชาการทางปัญญาต่างๆ เช่น เทววิทยา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ไปที่เมืองเนชอบูร์ เพื่อศึกษาหาความรู้ ในเวลานั้น เนชอบูร์ ถือเป็นศูนย์วิชาการและการวิจัย  มีนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่อยู่ด้วย มุอีนุดดีน ซาลิม บิน บัดรอน มิศรีย์  และกามาล อัล-ดิน ยูนุส โมซูลี ซึ่งเป็นอาจารย์ของ คอเญห์ อาจารย์เหล่านี้เก่งที่สุดในสาขาวิชาการ โดยเฉพาะคณิตศาสตร์

การก่อตั้งหอดูดาว มารอเฆะ


คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์  มีชีวิตในช่วงที่มีการรุกรานต่ออิหร่านโดยมองโกล เขากำลังมองหาสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับการวิจัย  เมื่อ นาซีรุดดีน อับดุลเราะห์มาน  ผู้ปกครองที่อยู่ในนิกายอิสมาอีลี ของ กาเฮศตาร เชิญเขาไปที่ อัลเมาต์ ในช่วงเวลานั้นเขาได้แปลหนังสือ "ตะฮาเราะตุ้ลอะอ์ร็อกอิบนิมัสกาวียะห์" ภายใต้ชื่อ อัคลาก นาศิรีย์ และเขียนหนังสือ "ริซาละห์ มุอัยยินะห์ " เนื่องจากการล่มสลายของรัฐบาลอิสมาอีลี โดยฝีมือชาวมองโกล คอเญห์ จึงยอมจำนนต่อฮาลากูว์ จึงรอดจากความตาย  ด้วยการสนับสนุนของฮาลากูว์ เขาได้ก่อตั้งหอดูดาวมารอเฆะ หอดูดาวแห่งนี้มีห้องสมุดขนาดใหญ่พร้อมหนังสือ 40,000 เล่ม เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการในสมัยนั้น ผลงานของคอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ เขาเขียนหนังสือ "ตัจรีดุ้ลอากออิด" เนื่องจากเขาเผยแพร่และส่งเสริมนิกายชีอะฮ์อิมามียะห์ ซึ่งถือเป็นแหล่งอ้างอิงของเทววิทยาของชีอะฮ์และมีผลงานตัฟซีรและอธิบายตัฟซีรมากว่า400เล่ม

อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์

ในด้านคณิตศาสตร์ คอเญห์ นาซีรุดดีน เขียนบทบรรณาธิการเกี่ยวกับตำราปโตเลมี-คณิตศาสตร์ในอดีต นอกจากนี้เขายังเขียนบทความเชิงนวัตกรรมมากมายเกี่ยวกับเลขคณิต เรขาคณิต และตรีโกณมิติ   เขาสานต่อผลงานของคัยยัม และช่วยพัฒนาคณิตศาสตร์เชิงคำนวณ ในวิชาเรขาคณิต คอเญห์ นาซีรุดดีน ยังติดตามงานของคัยยัม ผลงานที่โดดเด่นที่สุดของเขาในวิชาคณิตศาสตร์คือวิชาตรีโกณมิติ ซึ่งช่วยขยายตรีโกณมิติ ผลงานของเขาคือการค้นพบกฎทรงกลมของไซน์ในคณิตศาสตร์และการประดิษฐ์วิธีทางเรขาคณิตที่เรียกว่าคู่โทซีในทางดาราศาสตร์ นักวิจัยบางคนแนะนำคอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ว่าคือ ผู้สร้างวิชาการตรีโกณมิติในวิชาคณิตศาสตร์และอื่นๆ  หนังสือตรีโกณมิติของคอเญห์ได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16  อิบนุ ค็อลดูน นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกอาหรับ เรียก คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ว่านักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิหร่านหลังจากการมาของอิสลาม  คอเญห์ถูกถือว่า ในด้านวิชาการเทียบเท่ากับอิบนิ ซินา แตกต่างตรงที่อิบนิ ซินา  เป็นผู้นำแห่งยุคในด้านการแพทย์ ส่วน คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์  เป็นผู้นำแห่งยุคในด้านคณิตศาสตร์

ผลงานและลูกศิษย์


คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ มีผลงาน และ การประพันธ์ในสาขาวิชาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นิติศาสตร์ ฮิกมัต เทววิทยา ตรรกศาสตร์ จริยธรรม การแพทย์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ วรรณกรรม รวมถึงศิลปะบทกวีและดนตรี และมีลูกศิษย์ เช่น อัลลามะห์ ฮิลลีย์  กุตบุดดีน ชีรอซี กามาลุดดีน อัฟซาตี ซัยยิดรุกนุดดีน อัสตัรออบอดี และอิบนุ้ลโฟว์ตีย์  แบกดาดี  ผลงานของ คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ เช่น ตะห์ลีลุลอุศูลอักลีซ์   ตะห์ลีล มุญัซซะตี    ซีจ อีลคอนี   อัคลากนาศิรี  เอาศอฟุ้ลอัชร็อฟ   อาซาซุ้ลอิกติบาส  ซุบดะฮุ้ลอิดร็อก   ชัรฮ์ อิชาร็อต   อัลลามะห์ ฮิลลีย์  หนึ่งในลูกศิษย์ของ คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ กล่าวถึงเขาว่า  คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในยุคสมัยของเราและมีผลงานมากมายเกี่ยวกับวิชาการด้านอักลียะห์และนักลียะห์

การเสียชีวิต

มีรายงานทางประวัติศาสตร์ว่า คอเญห์ นาซีรุดดีน ไม่สบายหลังจากสร้างหอดูดาวเสร็จในปี 672 (ค.ศ. 1273) และเสียชีวิตในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ ซึ่งเป็นวันอีดอัลฆอดีร์ ในเวลานั้น คอเญห์ นาซีรุดดีน อาศัยอยู่ในกรุงแบกแดด  ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่กาซิเมนตามคำสั่งเสียของเขา

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน อิสฟัน (เป็นวันถือกำเนิดของคอเญห์ นาซีรุดดีน) ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นวันรำลึกถึงนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ รวมถึงวันวิศวกรในปฏิทินประจำชาติของอิหร่านด้วย

 

คอเญห์ นาซีรุดดีน ตูซีย์ ผู้อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์
อุสตาดุลบาชัร อักด์ฮาดีอาชัร มุอัลลิม ซาลิซ
ศตวรรษที่ 7 ฮิจเราะห์
ตะห์ลีลุลอุศูลอักลีซ์ ตะห์ลีล มุญัซซะตี ซีจ อีลคอนี อัคลากนาศิรี เอาศอฟุ้ลอัชร็อฟ อาซาซุ้ลอิกติบาส ซุบดะฮุ้ลอิดร็อก ชัรฮ์ อิชาร็อต

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: