ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ และความพยายามของเขาในการส่งเสริมกีฬาโปโลของอิหร่าน

ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ และความพยายามของเขาในการส่งเสริมกีฬาโปโลของอิหร่าน

ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ และความพยายามของเขาในการส่งเสริมกีฬาโปโลของอิหร่าน

โปโล เป็นกีฬาดั้งเดิมของอิหร่าน นักวิชาการย้อนไปถึงสมัยพันปีก่อนคริสต์ศักราชและเชื่อว่าเนื่องจากกีฬานี้ช่วยเสริมทักษะการขี่ม้าและการฝึกฝนม้า จึงได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและแพร่หลายขึ้นในเวลาต่อมา ต่อมากีฬานี้ได้แพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆอีกด้วย  ในอิหร่าน กีฬาประเภทนี้มักจะเล่นในช่วงเทศกาลต่าง ๆ พร้อมกับการเล่าเรื่อง การเล่านิทาน และดนตรี และในมุมต่าง ๆ ของสนามโปโลยังมีการบรรเลงเนกอเรห์ (เครื่องดนตรีเป่าชนิดหนึ่ง) และซอร์นา (เครื่องดนตรีคล้ายฟลุต) รวมไปถึงการเป่าแตรด้วย

ในการวาดภาพมินิเอเจอร์ที่ส่วนใหญ่คงอยู่จากอดีต สามารถพบเห็นภาพกีฬาเช่นนี้และในบางภาพยังมีนักดนตรีที่กำลังเล่นเครื่องดนตรีอย่างเช่น ซอร์นาและเนกอเรห์ ด้วย ดังนั้นเราจึงสามารถอธิบายโปโลว่าเป็น "กีฬาแห่งความสุข" ได้

การแข่งขันโปโลในสังคมอิหร่านมีความสำคัญถึงขนาดที่ผู้ปกครองและบุคคลสำคัญต่าง ๆ มักจะมาร่วมชมการแข่งขันนี้ด้วยตนเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกีฬาที่มีคุณค่าและความสำคัญทางสังคมและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม กีฬานี้ค่อยๆ สูญหายไปจากสังคมอิหร่านและไม่ได้รับความสนใจมากนัก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมามีความพยายามหลายครั้งในการฟื้นฟูกีฬาโปโลและแนะนำให้ผู้คนได้รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะหลังปี 2002 ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำสูงสุดของอิหร่านในการลงทุนในกีฬาโปโลและส่งเสริมสถานะของกีฬา ในปีเดียวกันนั้นเอง เมื่อมีการแยกกีฬาโปโลออกจากกีฬาขี่ม้า จึงมีการจัดตั้งสหพันธ์กีฬาใหม่ขึ้นระหว่างสหพันธ์กีฬาของอิหร่านและในที่สุดในปี 2015 โปโลในรูปแบบของ "การเล่นกีฬาขี่ม้าพร้อมดนตรีและการเล่านิทาน" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก หลังจากนี้มีบุคคลหลายคนที่ได้พยายามเพื่อแนะนำความสำคัญและประวัติศาสตร์ของโปโล หนึ่งในบุคคลเหล่านั้นคือ ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในปี 2018 ในฐานะ "สมบัติล้ำค่าของมนุษยชาติ" ในอิหร่าน

ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ ช่วงวัยเด็กและการเข้าสู่วงการกีฬา

ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ เกิดในครอบครัวชนเผ่าเร่ร่อน ถือกำเนิดในหมู่บ้านชื่อ "ฮัมมามียอน์" ใกล้เมืองบูคานทางตะวันตกของอิหร่าน อิลคานีซอเดห์ อธิบายว่าครอบครัวของเขามีความรักชาติและหลงใหลในวัฒนธรรมและวรรณคดีของอิหร่าน เขาเชื่อว่าความสนใจของครอบครัวในวรรณคดีได้สร้างความผูกพันที่ลึกซึ้งระหว่างเขากับวัฒนธรรมและวรรณคดีเปอร์เซีย โดยในวัยเด็กเขาสามารถท่องบทกวีของฮาฟิซได้ เขาได้รู้จักกับกีฬาโปโลในวัยเด็กและวัยรุ่น แม้หลังจากย้ายไปเตหะรานเพื่อศึกษาต่อ เขาก็ไม่ทิ้งกีฬาชนิดนี้

อิลคานีซอเดห์ ยังมีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมด้วย เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาพันธ์โปโลแห่งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านตั้งแต่ปี 2002 และดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา 15 ปี ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์นี้เองที่ทำให้กีฬาโปโลถูกขึ้นทะเบียนในยูเนสโก

เขามองว่าแรงบันดาลใจจากโปโลนั้นไม่เหมือนกับกีฬาอื่น ๆ และเชื่อว่า "โปโลเป็นคุณค่าที่สำคัญสำหรับประเทศและคนรุ่นหลัง และควรถูกอนุรักษ์ไว้ แต่ก็มีบางมุมมองที่อธิบายว่ากีฬานี้ว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับสิ่งที่มีคุณค่า... ประเทศนี้มีผู้คนที่รักและทุ่มเทเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของโปโลเสมอมา ในทุกช่วงเวลาที่มีโอกาส เราก็ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโปโลและในที่สุดก็สามารถทำให้โปโลที่ถูกละเลยและถูกปฏิเสธได้เป็นที่รู้จักทั่วโลกและบันทึกชื่อในระดับสากล

เขามองว่าการบันทึกชื่อโปโลเป็นของอิหร่านเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และมองว่าโปโลเป็นการรวมกันขององค์ประกอบทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และวรรณคดี

การเปลี่ยนมัยดานอิมาม(นักเชห์ญะฮอน์)ของเมืองอิสฟาฮานให้เป็นสนามแข่งขันโปโล เป็นหนึ่งในเป้าหมายและความปรารถนาของอิลคานีซอเดห์ ซึ่งสนามนี้สร้างขึ้นตั้งแต่แรกเพื่อใช้ในการแข่งขันโปโล และยังคงมีซากประตูที่ใช้ในเกมนี้หลงเหลืออยู่ ยังมีเรื่องเล่าว่ากษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาฟาวีจะมาร่วมชมการแข่งขันโปโลกับครอบครัวที่พระราชวังอาลีกาพูในช่วงที่มีการแข่งขัน

ฮัมซะห์ อิลคานีซอเดห์ และความพยายามของเขาในการส่งเสริมกีฬาโปโลของอิหร่าน
Yard periodcontemporary
sports

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: