มุลลาศัดรอและความเชื่อมกันระหว่างสติปัญญาและวะห์ยู ฮิกมัตมุตาอาลียะห์
ศัดรุ้ลมุตะอัลลิฮีน เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่อธิบายกระบวนการคิดเชิงปรัชญาในโลกอิสลามและหยิบยกประเด็นใหม่ๆเข้ามา มุลลาศัดรอ ผูกพันกับอัลกุรอานและริวายัต และจะใช้อัลกุรอานและริวายัตเพื่อแก้ไขปัญหาทางปรัชญาของเขา มูฮัมหมัด บิน อิบรอฮีม เกาวามี ชีรอซีย์ มีฉายาว่า ศัดรุ้ลมุตะอัลลิฮีน (มุลลาศัดรอ) เกิดในปี 979 ฮ.ศ. (ค.ศ. 1588) ในเมืองชีราซ คอเญห์ อิบรอฮีม เกาวามี (บิดาของมุลลาศัดรอ) เป็นนักวิชาการและนักการเมืองที่เคร่งศาสนามาก ถึงแม้จะมีความร่ำรวยและยศถาบรรดาศักดิ์ แต่เขาก็ไม่มีบุตรจนกระทั่งพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานบุตรชายคนหนึ่งให้เขา ต่อมาถูกรู้จักในชื่อ มุลลาศัดรอ มุลลาศัดรอคือบุตรชายคนเดียวของรัฐมนตรีแคว้นฟาร์สอันกว้างใหญ่ ในช่วงวัยหนุ่ม นอกเหนือจากหลักสูตรทั่วไปของสาขาในยุคนั้นแล้ว เขายังได้เรียนรู้หลักสูตรต่างๆ เช่น วรรณคดีเปอร์เซีย อาหรับ ตรรกศาสตร์ หลักนิติศาสตร์ เทววิทยาปรัชญา ฯลฯ มุลลาศัดรอศึกษาบางวิชาที่กล่าวมาในชีราซ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในกัซวีนเมืองหลวงเก่าของอิหร่าน เขาได้รู้จักและศึกษากับนักวิชาการอัจฉริยะยิ่งใหญ่สองท่านคือ เชค บาฮาอุดดีน อามิลีย์ และ มีรดามาด ด้วยการย้ายเมืองหลวงของกัซวีนไปยังอิศฟาฮาน ทำให้เชค บาฮาอุดดีน และ มีรดามาด มาที่เมืองนี้พร้อมกับลูกศิษย์ และมาสอนของพวกเขาที่นั่น มุลลาศัดรอซึ่งในขณะนั้นอายุ 26 หรือ 27 ปี คิดที่จะหารากฐานใหม่ๆ ในปรัชญา และก่อตั้งโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของเขา
ผู้ก่อตั้ง ฮิกมัตมุตาอาลียะห์
มุลลาศัดรอ ถูกกล่าวหาว่า เป็นพวกนอกรีตทางศาสนาในอิสฟาฮาน เนื่องจากความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับประเด็นนิติศาสตร์บางประการแตกต่างจากนักวิชาการอิสฟาฮานส่วนใหญ่ เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนและถูกเนรเทศจากอิสฟาฮาน เขาจึงไปที่เมืองกุมและอยู่ที่นั่นเป็นเวลา5หรือ7ปี ในช่วงเวลานั้น เขาเริ่มสนใจรหัสยะของอิสลาม
ช่วงบั้นปลายชีวิต เขากลับมาที่ชีราซ สอนที่โรงเรียน "ข่าน" สั่งสอนลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น มุลลา มูฮัมหมัด เฟซ กาชานี เช็คอับดุลรัซซาก ลาฮิญี เป็นต้น นอกจากนี้ เขายังเขียนหนังสือ "อัสฟาร อัรบาอะ" อัสฟาร อัรบาอะมีทั้งหมด4เล่มและจัดเรียงตาม4ขั้นตอนการเดินทางสู่รหัสยะ
มีพื้นฐานมาจากสิ่งนี้ หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการของปรัชญา "ปัญญาสูงสุด" คุณสมบัติหนึ่งของฮิกมัตมุตาอาลียะห์ คือการเชื่อมกันระหว่างสติปัญญาและจิตวิญญาน และการที่สติปัญญาของมนุษย์เชื่อมโยงกับจิตวิญญานก็ไม่ได้ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนา มุลลาศัดรอ ได้จัดระเบียบฮิกมัตมุตาอาลียะห์ ในรูปแบบของการเดินทางผ่านปัญญา4ขั้นตอน : 1. ประเด็นกิจการสาธารณะหรือเทววิทยาในความหมายที่กว้างสำหรับการเดินทางครั้งแรกของนักรหัสยะ 2. หัวข้อเรื่อง เตาฮีด การรุ้จักพระเจ้า คุณลักษณะของพระเจ้าหรือเทววิทยาในความหมายเฉพาะการเดินทางครั้งที่2ของนักรหัสยะ 3. หัวข้อเกี่ยวกับ โลกของการดำรงอยู่และสติปัญญาทั่วไป เป็นการเดินทางครั้งที่3ของญาณนักรหัสยะ 4. ประเด็นของ จิตวิญญาณและการฟื้นคืนชีพสำหรับการเดินทางครั้งที่4ของนักรหัสยะ การมุ่งเน้นไปที่แก่นแท้สองประการในมนุษย์และพระเจ้า และตำแหน่งทางภววิทยาของมนุษย์เพื่อเชื่อมกับการดำรงอยู่สูงสุด นั่นคือ พระเจ้า เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่เด่นของฮิกมัตมุตาอาลียะห์
ผลงานของ มุลลาศัดรอ
มุลลาศัดรอ ประกอบพิธีฮัจญ์ด้วยการเดินเท้า6ครั้ง ครั้งที่ 7 เมื่ออายุ 70 ปี เขาพยายามเดินทางครั้งนี้ด้วยความถวิลหา มุลลาศัดรอ ล้มป่วยระหว่างการเดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้าย และเสียชีวิต เขาทิ้งผลงานไว้มากมายซึ่งเกิน 50 ผลงาน ไม่ว่าจะเป็น มาฟาติฮุ้ลเฆ็บ อัชชะวาฮิดุรรุบูบียะห์ฟิ้ลมนาฮิญิ้ซซุลูกียะห์ อัลมชาอิร อัลมับดะวั้ลมะอาด ชัรฮุ้ลฮิดายะตุ้ล อะซีรียะห์ ฮาชียะห์บัรอัลอิลาอียาตชะฟา ฮาชียะห์บัรตัฟซีรบัยดอวีย์ ชัรฮ์อุศูลุลกาฟี อัลวาริดาตุ้ลก็อลบียะห์ ญะวาบาตุ้ลมะซาอิลุ้ลอาวีเศาะห์ อัลกอวาอิดุ้ลมาลากูตียะห์ กัซรุ้ลอัศนามุ้ลญาฮิลียะห์ และ ตัฟซีร อายะห์กุรซี ตัฟซีรอายะห์นูร ตัฟซีรซูเราะห์ซูเราะห์อะอ์ลา ฮาดีด ญุมอะฮ์ ฟาติหะฮ์ ตาล๊าก ดุฮา และบางส่วนจากซูเราะห์บะกาเราะห์
ว่ากันว่าสถานที่ฝังศพของมุลลาศัดรอ อยู่ในสุสานเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองบัศเราะห์ วันที่ 22 พฤษภาคม ตรงกับวันที่ 1 โครดอด ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "วันรำลึกมุลลาศัดรอ" ในปฏิทินประจำชาติของอิหร่าน
มุลลาศัดรอและความเชื่อมกันระหว่างสติปัญญาและวะห์ยู ฮิกมัตมุตาอาลียะห์ | |
ศัดรุ้ลมุตะอัลลิฮีนมุลลาศัดรอ | |
ฮ.ศ. 979 | |
อัลฮิกมาตุ้ลมุตาอาลียะห์ ฟิ้ลอัซฟารุ้ลอักลียะตุ้ลอัรบาอะฮ์ มาฟาติฮุ้ลเฆ็บ อัลตะอ์ลีกอตุ้ลอาลาอิลาฮียาตุ้ลชิฟาอ์ อัชชะวาฮิดุรรุบูบียะห์ฟิ้ลมนาฮิญิ้ซซุลูกียะห์ |