ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
โมฮีน อัฟชอนพูร์  บุคคลสำคัญแห่งจิตรกรรมสมัยใหม่ของอิหร่าน

โมฮีน อัฟชอนพูร์ บุคคลสำคัญแห่งจิตรกรรมสมัยใหม่ของอิหร่าน

โมฮีน อัฟชอนพูร์ บุคคลสำคัญแห่งจิตรกรรมสมัยใหม่ของอิหร่าน

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของทุกชาติ อย่างไรก็ตาม มรดกนี้เปราะบางมาก และในโลกทุกวันนี้ ที่ความทันสมัยซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่รุกรานเข้ามา ได้รุกรานวัฒนธรรมอื่นด้วยการครอบงำของสื่อ ทำให้การรักษามรดกเหล่านี้ไว้เป็นเรื่องยากมาก  มรดกที่จับต้องไม่ได้ไม่เพียงแสดงออกมาในรูปแบบทางวัฒนธรรมและประเพณีเท่านั้น แต่ยังปรากฏอยู่ในความรู้และทักษะแบบดั้งเดิมด้วย ดังนั้นผู้ที่เชี่ยวชาญในความรู้และเทคนิคโบราณและสามารถถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อไปได้ จึงมีคุณค่าต่อชาติ ปัจจุบันมีการจัดทำรายชื่อ “ผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม” ขึ้นในวัฒนธรรมต่างๆ โดยนำชื่อบุคคลเหล่านี้เข้าไปรวมไว้ด้วยเพื่อจุดประสงค์ในการแนะนำพวกเขาให้ทุกคนรู้จัก ในอิหร่าน รายชื่อดังกล่าวยังอุทิศให้กับการบันทึกชื่อบุคคลที่ยิ่งใหญ่ในสาขาศิลปะและวิทยาศาสตร์ของชาติด้วย “โมฮีน อัฟชอนพูร์” คือหนึ่งในสตรีที่ได้รับการกล่าวถึงในหมู่ผู้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของอิหร่าน ซึ่งเป็นสตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ด้านการวาดภาพจิตรกรรมขนาดจิ๋วและเป็นผู้ฝึกฝนลูกศิษย์มากมายในสาขาศิลปะนี้ 

ชีวิตและบริการของโมฮีน อัฟชอนพูร์
โมฮีน อัฟชอนพูร์ เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 1941 ที่กรุงเตหะราน ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่อิหร่านเผชิญกับสภาวะที่ยากลำบาก โดยพันธมิตรได้เข้ายึดกรุงเตหะรานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โมฮีน อัฟชอนพูร์ใช้ช่วงปีแรกของชีวิตในสภาวะที่ยากลำบากนี้ เมื่อเธออายุ 28 ปี เนื่องจากความสนใจในศิลปะการวาดภาพ เธอจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะกามาลุ้ลมุลก์ ที่ซึ่งมีศิลปินที่มีชื่อเสียงมาสอนนักเรียน ในโรงเรียนนี้ เธอได้เรียนรู้การวาดภาพด้วยสีน้ำมันและการตกแต่งด้วยน้ำทองรวมทั้งการวาดภาพในสไตล์ "ซียะห์กาลัม" และการวาดภาพดอกไม้และนก ซึ่งเป็นสาขาศิลปะอื่น ๆ ที่เธอได้เรียนรู้และพัฒนา หลังจากหลายปีของความพยายาม เธอสามารถรับปริญญาเอกในสาขาศิลปะการวาดภาพและได้รับเครื่องหมายเกียรติยศทางศิลปะขั้นหนึ่งจนบรรลุระดับความเชี่ยวชาญ เธอสอนอยู่หลายปีในมหาวิทยาลัยศิลปะของอิหร่านและจัดนิทรรศการหลายครั้ง

โมฮีน อัฟชอนพูร์ได้สร้างผลงานที่มีคุณค่ามากกว่า 100 ชิ้น และเนื่องจากการบริการทางศิลปะของเธอ ชื่อของเธอจึงได้รับการจดทะเบียนในรายชื่อ "ผู้ถือครองมรดกทางวัฒนธรรมของอิหร่าน" เธอเสียชีวิตในปี 2022 ในวัย 80 ปี

ผลงานที่มีความเด่นของโมฮีน อัฟชอนพูร์
ซาวอรีย์อัซเฆ็บ, เชคซันอานและดุคตัรทาร์ซอ, ซามันทีซพ็อย, มัจญ์ลิซบันด์อันดอซีย์อารูซอน์ และ ออฮูวาน์คุม็อรเช็ช เป็นผลงานเด่นของโมฮีน อัฟชอนพูร์ซึ่งในผลงานของเธอมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์และไม่เคยถูกมองว่าเป็นศิลปินที่ลอกเลียนแบบ เน้นความชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้องค์ประกอบของความคลุมเครือ และการหลีกเลี่ยงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น เป็นลักษณะเด่นของสไตล์ของเธอ การใช้สีในรูปแบบของแสงและเงาและการเล่นเฉดสีที่บรรจบกันถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เธอใช้ในการสร้างความคลุมเครือในผลงานของเธอ

หนึ่งในจุดเด่นที่ทำให้ผลงานของโมฮีน อัฟชอนพูร์มีความประณีตและละเอียดมากยิ่งขึ้น คือการมองอย่างละเอียดและอ่อนโยน ซึ่งสามารถพบได้มากในหมู่ผู้หญิง เนื่องจากคุณสมบัตินี้ ความอ่อนโยนในผลงานของเธอจึงเด่นชัดเมื่อเทียบกับผลงานที่คล้ายกัน ดูเหมือนจะเป็นลายเซ็นที่เฉพาะตัวของศิลปินผู้นี้ ในผลงานของโมฮีน อัฟชอนพูร์บุคลิกของศิลปินปรากฏอย่างชัดเจนและไม่สามารถแยกศิลปินออกจากผลงานของเธอได้ ความเชี่ยวชาญของเธอในวรรณคดีเปอร์เซียก็สะท้อนในผลงานต่าง ๆ ของเธอ การชมภาพวาดของเธอเปรียบเสมือนการเห็นเรื่องราวที่กวีและนักเขียนจากแผ่นดินเปอร์เซียได้บรรยายไว้ในผลงานของพวกเขาในอดีต ประเด็นที่ได้จากการจัดวางองค์ประกอบของรูปปั้นและฉากหลังที่เธอใช้ ทำให้เรานึกถึงความละเอียดอ่อนในแบบของกวี

เช่นเดียวกับที่โมฮีน อัฟชอนพูร์กล่าวไว้ในการสัมภาษณ์ ผลงานของเธอบางครั้งก็ได้ออกนอกกรอบเพื่อแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานและความต้องการความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ เธอเชื่อว่าศิลปินต้องอาศัยอยู่ในสังคม ดังนั้นผลงานของเธอจึงไม่ควรแยกออกจากสังคมและผู้คน เธอมองว่าความคิดเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และเชื่อว่าเส้นและสีในผลงานแต่ละชิ้นต้องมีความหมายและสื่อถึงปรัชญาหรือความหมายบางอย่าง

สไตล์ศิลปะของโมฮีน อัฟชอนพูร์

โมฮีน อัฟชอนพูร์ สามารถถือเป็นผู้สืบทอดของ "โรงเรียนอิสฟาฮาน" ซึ่งเป็นโรงเรียนศิลปะที่รุ่งเรืองในช่วงที่อิสฟาฮานได้รับเลือกเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลซาฟาวีย์ (ในศตวรรษที่ 17 และ 18) โดยโรงเรียนนี้ได้พัฒนาขึ้นในหลากหลายสาขาและมีอิทธิพลต่อกระแสศิลปะของอิหร่าน การศึกษาผลงานของอัฟชอนพูร์ และการเปรียบเทียบกับผลงานของศิลปินในอดีตทำให้เห็นว่าเธอเป็นหนึ่งในผู้เจริญรอยตามเรซา อับบาซีย์ (จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยพระเจ้าชาห์อับบาสซาฟาวีย์ ซึ่งเสียชีวิตในปี 1635) สิ่งที่อัฟชอนพูร์ เพิ่มเข้าไปในโรงเรียนนี้คือรากฐานทางความเชื่อและรหัสยะ ซึ่งเธอได้ใช้วรรณคดีโบราณของเปอร์เซียเพื่อพลิกโฉมการวาดภาพแบบอิหร่าน จุดเด่นเหล่านี้ทำให้บางนักวิจารณ์ศิลปะมอบฉายา "สุภาพสตรีแห่งจินตนาการ" ให้กับเธอ

โมฮีน อัฟชอนพูร์ บุคคลสำคัญแห่งจิตรกรรมสมัยใหม่ของอิหร่าน
1320-1401
ซาวอรีย์อัซเฆ็บ เชคซันอานและดุคตัรทาร์ซอ ซามันทีซพ็อย มัจญ์ลิซบันด์อันดอซีย์อารูซอน์ ออฮูวาน์คุม็อรเช็ช
Yard periodcontemporary
Artistic

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: