มหานครเตหะรานเมืองหลวงของอิหร่าน
5 ตุลาคม เป็นวันที่เตหะรานได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของอิหร่าน
กรุงเตหะรานตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขาอัลโบร์ซ (Alborz) ที่ความสูง 900 ถึง 1800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือของกรุงเตหะรานเป็นพื้นที่ภูเขาและทางตอนใต้เป็นพื้นที่ทะเลทราย เนื้อที่และลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่กว้างใหญ่ทำให้สภาพภูมิอากาศทางตอนใต้และทางตอนเหนือของเตหะรานมีความแตกต่างกัน โดยทางตอนเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง ส่วนตอนใต้จะมีอากาศร้อน
จากการค้นพบทางโบราณคดี แสดงให้เห็นว่ากรุงเตหะรานเคยมีผู้คนอาศัยอยู่เมื่อหลายพันปีก่อน แต่ได้รับการพัฒนาและรุ่งเรืองขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 7 และเมื่อประมาณ 230 ปีที่ก่อนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์กอญัร (Qajar dynasty) ซึ่งได้เลือกให้เตหะรานเป็นเมืองหลวงของประเทศอิหร่าน
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจัตุรัสออซอดี (Azadi Square) ถูกสร้างเด่นเป็นสง่าคู่กับมิลอดทาวเวอร์ (Milad Tower) ที่แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมเก่าแก่และสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้เอาไว้ เตหะรานเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด มีเนื้อมากที่สุด และสำคัญที่สุดของอิหร่าน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในมหานครที่ใหญ่ที่สุดของโลกในด้านขนาดของเนื้อที่ด้วย เตหะรานเป็นศูนย์กลางของกิจการทั้งหมดในอิหร่าน อาทิ ศูนย์กลางการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ธุรกิจ ประวัติศาสตร์ วิชาการความรู้ อุตสาหกรรม และอื่นๆ และนี่คือเหตุผลของการตั้งถิ่นฐานและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในมหานครแห่งนี้ ด้วยกับคุณลักษณะเหล่านี้ทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองหลวงที่ทันสมัยและเจริญกว่าเมืองอื่นๆ
เนื่องจากโครงสร้างและสถานที่ตั้งของเมืองที่อยู่ระหว่างเชิงเขาอัลโบร์ซและยอดเขาดามาวานด์ (Mount Damavand) ซึ่งเป็นยอดภูเขาไฟที่สูงที่สุดในอิหร่าน ทำให้เมืองนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์และมีภูมิทัศน์ทางธรรมชาติในตัวเอง นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของอิหร่านอันเนื่องมาจากมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเมืองหนึ่ง ชาวเตหะรานพูดภาษาเปอร์เซียที่มีภาษาถิ่นเตหะรานี และในเมืองนี้ผู้คนต่างนิกายและต่างศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกัน