สะพานโบราณของเมืองตับรีซ
สะพานโบราณของเมืองตับรีซ
หลังจากแม่น้ำบัซเมนจ์ชอย์ไหลเข้าสู่เมืองตับรีซแล้ว ได้แยกออกเป็น 2 สาย ได้แก่ สายเหนือซึ่งเรียกว่าเอสเบริซ และสายใต้ซึ่งเรียกว่ากูรีชอย์ จากนั้นทั้งสองส่วนจะเชื่อมกันที่บริเวณสะพานหินและก่อตัวเป็น "แม่น้ำเมห์รอเนห์" แม่น้ำเมห์รอเนห์จะไหลผ่านเมืองตับรีซและมอบความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง แม่น้ำสายนี้ไหลจากตะวันออกไปตะวันตกและแบ่งเมืองตับรีซออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนเหนือและส่วนใต้ แม่น้ำเมห์รอเนห์จะไปสิ้นสุดที่ออญีช็อย์
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แม่น้ำสายนี้ไม่มีน้ำที่คงที่และไหลเฉพาะในฤดูฝน อย่างไรก็ตาม มีการนำแผนมาปฏิบัติเพื่อให้น้ำไหลลงสู่พื้นผิวแม่น้ำสายนี้อย่างถาวร สะพานโบราณ ถูกสร้างขึ้นเหนือแม่น้ำตับรีซเพื่ออำนวยความสะดวกในการไปมาหาสู่ระหว่างสองฝั่งของเมือง สะพานบางแห่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง
สะพานออญีช็อย์
สะพานโบราณที่มีความยาว 105 เมตร ถูกสร้างขึ้นเหนือออญีช็อย์ ในสมัยราชวงศ์ซาฟาวิด (คริสต์ศตวรรษที่ 16) สะพานได้รับการบูรณะในสมัยราชวงศ์กอญาร์ ขณะที่อับบาสมีร์ซา รัชทายาทของอิหร่าน อาศัยอยู่ในเมืองนี้ สะพานมี 16 ช่องและมีความกว้างประมาณ5เมตร สะพานออญีช็อย์ได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการงานประจำชาติของอิหร่านในปี ค.ศ. 1999
สะพานกอรีย์
สะพานกอรีย์ เป็นสะพานหิน ในภาษาตุรกี "กอรีย์ " แปลว่า "หญิงชรา" ว่ากันว่า ผู้ก่อตั้งสะพานนี้ เป็นหญิงชราที่ได้จัดสรรค่าใช้จ่ายในการเดินทางทำฮัจญ์ของเธอเพื่อสร้างสะพานนี้ขึ้นสำหรับอำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมาของผู้คนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมห์รอเนห์ ในบางแหล่งข้อมูล สะพานนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สะพานเชร็อก" เหตุผลของชื่อนี้ก็คือเสาไฟแห่งแรกของเมืองตับรีซ ถูกติดตั้งบนสะพานนี้ในช่วงสมัยของกอญาร์ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสะพานใจกลางเมืองตับรีซ ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองนี้
สะพานกอรีย์ เชื่อมต่อกับย่านเก่าแก่ของเช็ชโกลอน์และโชโตร์บอน์กับตลาดใหญ่ของเมือง สะพานนี้มีความยาว 100 เมตรและกว้าง 5 เมตร ช่องโค้งแปดช่องของสะพานที่มีโครงสร้างอิฐสร้างสัดส่วนที่สะดุดตาเมื่ออยู่ติดกับฐานรากและรั้วหิน ในสมัยราชวงศ์ปาห์ลาวี มีการสร้างสะพานแคบๆ ขึ้นทางทิศตะวันตกของสะพานโบราณเพื่อใช้สำหรับคนเดินเท้า สะพานกอรีย์ถูกจดทะเบียนในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของอิหร่านในปี 2000
สะพานฮอญีย์ อะซีม
สะพานแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมห์รอเนห์ การก่อสร้างสะพานนี้ย้อนกลับไปในยุคปาห์ลาวี (ศตวรรษที่ 20) สะพานฮอญีย์ อะซีมซึ่งเป็นหนึ่งในสะพานเก่าแก่ของเมืองตับรีซที่ขึ้นทะเบียนในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของอิหร่านในปี2006
สะพานแซ็งกีย์
สะพานแซ็งกีย์เป็นหนึ่งในสะพานโบราณของเมืองตับรีซ ซึ่งตั้งอยู่ในเขต "เช็ชโกลอน์" บริเวณทางแยกของถนนเอสเบริซและกูรีชอย์ สะพานแซ็งกีย์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเก่าแก่ของตับรีซและอยู่ใจกลางของเมืองตับรีซในปัจจุบัน ที่ฐานของสะพานแซ็งกีย์มีจารึกที่ระบุวันเวลา ปีฮ.ศ. 1363 (ค.ศ. 1944) แน่นอนว่าโครงสร้างเดิมของสะพานนั้นเก่ากว่า และจารึกนี้ระบุวันที่สร้างสะพานขึ้นใหม่ สะพานแซ็งกีย์เป็นสถานที่เผชิญหน้าระหว่างกลุ่มที่ยึดมั่นในรัฐธรรมนูญและกองกำลังของราชวงศ์ในช่วงการต่อสู้ของชาวตับรีซในขบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ (ศตวรรษที่ 19)
วัสดุหลักในการก่อสร้างสะพาน - ตามชื่อที่บ่งบอก – คือแซ็งกีย์ ซึ่งแปลว่าหิน แม้ว่าจะใช้อิฐในส่วนด้านในของห้าโค้งของสะพาน สะพานมีความยาว 44 เมตรและกว้าง 680 ซม. การใช้ปูนซาโรจ์ มีความสำคัญเฉพาะในสถาปัตยกรรมแบบโบราณของอิหร่าน ถือเป็นปัจจัยด้านความแข็งแกร่งประการหนึ่งของสะพาน โครงสร้างนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการผลงานแห่งชาติของอิหร่านในปี 2015 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งระบบไฟบนสะพาน ทำให้การชมสะพานในเวลากลางคืนเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินอย่างมาก
บ้านของ พาร์วีน เอียะอ์ติซอมีย์ หนึ่งในกวีหญิงร่วมสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของอิหร่าน ตั้งอยู่ใกล้กับสะพานแซ็งกีย์
นอกจากนี้ยังมีมัสยิดที่มีชื่อเดียวกัน (สะพานแซ็งกีย์) อยู่ติดกับสะพาน ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปถึงสมัยกอญาร์ เสาของมัสยิดทำด้วยหินและใช้อิฐในการก่อสร้างกำแพง
สะพานบีลอน์โกห์
สะพานหินบีลอน์โกห์ สร้างขึ้นเหนือเอสเบริซ ในสมัยกอญาร์ ในอดีตมีสวนหลายแห่งรอบสะพานนี้ และปัจจุบัน ลำต้นของต้นทานาวาร์ที่เก่าแก่3ต้นที่อยู่ติดกันเป็นเครื่องเตือนใจถึงสวนเหล่านั้น สะพานบีลอน์โกห์ ได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการประจำชาติของอิหร่านในปี 2005
สะพานโบราณของเมืองตับรีซ | |
อาเซอร์ไบจานตะวันออก |