ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
อิบนิซินา บุรุษผู้ซึ่งดำรงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์

อิบนิซินา บุรุษผู้ซึ่งดำรงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์

อิบนิซินา บุรุษผู้ซึ่งดำรงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์

อบูอาลี ซินา เป็นที่รู้จักในนามอิบนิ ซินา, พูร์ซินา และชัยคุ้ลราอีซ เขาเป็นแพทย์ นักวิชาการ นักปรัชญา นักดาราศาสตร์ นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 4 ของอิหร่าน นักวิชาการชาวอิหร่านท่านนี้เกิดเมื่อวันที่ 1 ชะห์รีวัร ปี 359 ของอิหร่าน (ค.ศ.980) อาบู อาลี ซินา มีทักษะอย่างมากในสาขาทุกแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพทย์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการแพทย์ ในบรรดาผลงานที่สำคัญของเขา เราสามารถกล่าวถึงหนังสือกฎหมายในการแพทย์ หนังสือเกี่ยวกับการรักษา และสารานุกรมของอาลาอี  ระยะเวลาการวิจัยและกิจกรรมของนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้เรียกได้ว่า เป็นยุคทองของอิสลาม ตอนที่ยังเป็นเด็ก พ่อของเขาพยายามอย่างมากเพื่อให้เขาได้ศึกษา  เขาศึกษานิติศาสตร์กับอาจารย์อิสมาอีล ซาฮิด หลังจากนั้นพ่อของเขาส่งเขาไปเรียนตรรกะและเรขาคณิตกับอบูอับดุลลอฮ์ นาตาลี

ซึ่ง เมื่ออายุได้ 10 ขวบ เขาท่องจำอัลกุรอานและรู้จักวรรณคดีอาหรับ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ ตลอดจนไวยากรณ์อาหรับ หนังสืออุศูลของยุคลิด  บทนำเกี่ยวกับ Porphyrias และ Al-Majaste ของปโตเลมี เป็นผลงานที่อิบนิ ซินา ศึกษาภายใต้การดูแลของครูหลายคนตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หลังจากศึกษาวิชาการปรัชญาของอริสโตเติล 40 ครั้ง เขาไม่สามารถเข้าใจความหมายของมันได้ และเกิดข้อสงสัยมากมายตามมา แต่ด้วยความช่วยเหลือของหนังสือ เอียะรอดุ้ลมาบะอ์ดะตาบีอะฮ์ของฟารอบี เขาจึงสามารถเข้าใจแก่นแท้ของมันได้ เขาเรียนรู้วิชาการแพทย์โดยศึกษางานเขียนของแพทย์คนก่อนๆ ซึ่งใช้เวลาสั้นๆ และในวัยหนุ่มเขาสามารถรักษาโรคของอามีร์ ซามานีได้ เขาได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องสมุดของเจ้าชายซามานีและสิ่งนี้ทำให้เขามีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม

ระบบปรัชญาของอิบนิ ซินา

ระบบปรัชญาของอิบนิ ซินา โดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของหลักการบางประการ มีผลที่ลึกซึ้งและยั่งยืนที่สุดต่อแนวคิดทางปรัชญาอิสลามที่ตามมาภายหลังเขาและต่อปรัชญายุโรปในศตวรรษกลาง ระบบปรัชญานี้เป็นการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของปรัชญาอริสโตเติลและองค์ประกอบบางประการของโลกทัศน์นีโอพลาโตนิก ซึ่งเชื่อมโยงกับโลกทัศน์ทางศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม ประการแรก อิบนิ ซินา ยังเป็นสาวกของอริสโตเติล ซึ่งกล่าวถึงเขาว่า "อิมามแห่งปราชญ์ และอาจารย์ของนักปรัชญาคืออริสโตเติล"

แต่การติดตามอริสโตเติลนี้ไม่ได้ทำให้เขาเป็นผู้มีอคติหรือตามแบบตาบอด

อิบนิ ซินา ในการดำเนินตามแนวคิดพื้นฐานของอริสโตเติล บางครั้งได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในโครงสร้างความคิดของเขา และชี้แจงประเด็นที่คลุมเครือในความคิดของอริสโตเติล   อิบนิ ซินา เรียกระบบปรัชญาใหม่ของเขา ซึ่งเขาตั้งใจจะทำให้สำเร็จว่า "ฮิกมัตหรือปรัชญาตะวันออก"

นักวิจัยได้แสดงความคิดเห็นมากมายเกี่ยวกับปรัชญาตะวันออกนี้ ประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นครั้งแรกโดย นาลีโน ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกชาวอิตาลีในบทความชื่อ "ปรัชญาตะวันออกหรืออิชรอกีของอิบนิ ซินา" ในสิ่งพิมพ์ของอิตาลี "วารสารตะวันออกศึกษา" ในบทความนี้ ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า อิบนิ ซินา เขากำลังพูดถึง "ปรัชญาตะวันออก" ไม่ใช่ "อิชรอกี"

การเสียชีวิตของอิบนิซินา

เมื่ออายุ 21 ปี อิบนิ  ซินา ได้เขียนงานปรัชญาเรื่องแรกของเขาชื่อ อัลอารูดีย์ ตามคำขอของอบุ้ลคัยร์ อารูดีย์ หลังจากที่บิดาของเขาเสียชีวิต เขาหันไปรับราชการและเข้ารับราชการหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้เขาจึงถูกคนอิจฉาและถูกจำคุกอยู่ระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็หนีออกจากคุกได้ เขาใช้เวลาอยู่ที่เมืองโกร์ฆอนและเริ่มเขียนหนังสือ  ช่วงเวลานั้น อบูอุบัยด์ ญูซญอนี ศึกษากับเขาและเขียนหนังสือหลายเล่มรวมถึงชีวประวัติของเขาด้วย จากนั้นอิบันซินาก็ไปเมืองเรย์ เข้าไปหาหามัจดุ้ลเดลามีย์ และพักอยู่ที่เมืองเรย์เป็นเวลานาน จากนั้นเขาไปที่ฮัมเมดานและเขียนหนังสือกฎหมายที่นั่น ช่วงชีวิตของเขา อิบนิ  ซินา ได้อบรมสอนลูกศิษย์หลายคน เช่น อบุล ฮาซัน บะห์มนียาร์ บิน มาร์ซบอน, อบูอุบัยด์ญูซญอนี และอบูอับดิลลาฮ์ มะอ์ศูมี เขาเคยถกกับอบูซะอีด อบุลคัยร์ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง  อิบนิ ซินายังประพันธ์หนังสือในสาขาวรรณกรรมอีกด้วยและผลงานเปอร์เซียมากกว่า 20 ชิ้นที่เป็นผลงานของเขา  เขาเสียชีวิตในเมืองฮัมเมดานในปี 416 ของอิหร่าน (1037 ฮ.ศ.) และถูกฝังไว้ที่นั่น สมาคมสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติ (สมาคมศิลปวัตถุวัฒนธรรมและเกียรติยศ) ได้สร้างอนุสาวรีย์บนหลุมศพของเขา สุสานของอิบนิ ซินา ตั้งอยู่ที่จัตุรัส อบูอาลีซินา ใจกลางเมืองฮัมเมดานผลงานนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผลงานระดับชาติชิ้นหนึ่งของอิหร่านในปี ค.ศ. 1997  วันที่ 23 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันแรกของเดือนชาห์รีวัร์ในปฏิทินประจำชาติของอิหร่าน ได้รับการตั้งชื่อว่า "วันแพทย์และวันรำลึกชอบูอาลีซินา" เพื่อเป็นเกียรติแก่แพทย์ผู้มีชื่อเสียงท่านนี้ 

อิบนิซินา บุรุษผู้ซึ่งดำรงอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์
ศตวรรษที่4ของอิหร่าน
กฎหมายการแพทย์ หนังสือการรักษา และสารานุกรมอาลาอี

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: