ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)

อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)

อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)
จัตุรัส นักช์-จะฮอน เมืองอิสฟาฮาน มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั้ง 4 ด้านของจัตุรัสมีสถาปัตยกรรมหลักทางประวัติศาสตร์ปรากฎอยู่ และหนึ่งในนั้นคือ สถาปัตยกรรม อาลี-กาพู ซึ่งมีความแตกต่างไปจาก 3 สถาปัตยกรรมที่หลือ เพราะอาลี-กาพู ไม่ใช่มัสยิดและซุ้มประตูใหญ่ แต่เป็นพระราชวังที่ชาห์ซะฟาวิดใช้เป็นพระที่นั่งในการรับชมการแข่งขันโปโลภายในจตุรัส นักช์-จะฮอน สถาปัตยกรรมชิ้นนี้มีความสูง 48 เมตร เริ่มก่อสร้างในสมัยชาห์อับบาส ซะฟาวิด ระหว่างปี 1595 – 1599 กระทั้งมีการดำเนินการต่อในสมัยตัวแทนของชาห์อับบาสที่ 1 อีก 70 – 100 ปี จนแล้วสร็จสมบูรณ์ พระราชวังอาลี-กาพูเป็นพระที่นั่งและทำเนียบรัฐบาลของสุลตานแห่งซะฟาวิด และใช้สำหรับการประชุมระหว่างชาห์กับอาคันตุกะและทูตจากต่างประเทศ
ในสมัยซะฟาวิด สถาปัตยกรรมอาลี-กาพู คือประตูใหญ่ที่นำไปสู่จัตุรัส นักช์-จะฮอน แต่ปัจจุบันเมื่อเข้าสู่จัตุรัสจะต้องหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับชมสถาปัตยกรรมดังกล่าว มุมมองอันงดงามของพระราชวังอาลี-กาพู แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มและศักดิ์ศรีทางสถาปัตยกรรมตะวันออก และให้มุมหนึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นตะวันตกด้วย
พระราชวังอาลี-กาพู ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเหมือนดั่งรูปแบบในปัจจุบัน โดยสถาปัตยกรรมดั้งเดิมเป็นเพียงประตูเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลซะฟาวิดที่มีความเป็นธรรมดาเท่านั้น แต่ในสมัยชาห์อับบาสมีการต่อเติมช่วงชั้นต่าง ๆ เข้ามา และสถาปัตยกรรม อาลี-กาพู จึงกลายเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของชาห์อับบาสที่ 2 อีกเช่นกัน ตัวอาคารพระราชวังมี 6 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นเชื่อมต่อกันด้วยบันไดที่ปูด้วยกระเบื้อง ชั้นล่างประกอบด้วยห้องโถงสองห้องเพื่อใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับศาลและการบริหารราชวังของซะฟาวิด
อีกหนึ่งส่วนที่น่าทึ่งสำหรับพระราชวังอาลี-กาพู คือ "ห้องดนตรี" บนผนังห้องนี้มีการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดยใช้รูปแบบแจกันคว่ำเป็นแบบในการบุผนัง ที่นอกจากจะทำให้ดูสวยงามแล้วยังทำให้เกิดเสียงก้องกังวานอีกด้วย
หอระเบียง อาลี-กาพู ตั้งอยู่ชั้นสามและหันหน้าสู่จัตุรัส โดยมีเสา 18 เสา คอยค้ำยันดาดฟ้าและบนฝ้าเพดานไม้มีจิตรกรรมมากมายปรากฏอยู่ โดยตรงกลางหอระเบียงมีสระน้ำหินอ่อนซึ่งรูปแบบของมันปรากฏอยู่บนฝ้าเพดานของหอระเบียง จากหอระเบียงอันนี้สามารถมองเห็นจตุรัสได้ทุกส่วน
ดังที่กล่าวไปข้างต้น บันไดของพระราชวังได้ถูกปูด้วยกระเบื้อง แต่เมื่อขณะเดินขึ้นบันไดทำให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่บนพรม อันเนื่องมาจากลวดลายที่งามของตัวกระเบื้องนั้นเอง หนึ่งในชิ้นงานที่โด่งดังของพระราชวังอาลี-กาพู คือประตูไม้ โดยกล่าวกันว่าถูกนำมาจากฮะรัมท่านอะลี เมืองนะญัฟ (อิรัก) ซึ่งจารึกที่ปรากฏบนประตูทางเข้าได้จารึกว่า “ฉัน (ศาสดามุฮัมหมัด) คือเมืองแห่งความรู้ และอะลีคือประตูแห่งเมืองนั้น” ได้ทำให้คำกล่าวที่ว่านี้ดูแข็งแรงขึ้น
อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)
1
อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)

อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)

อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)

จัตุรัส นักช์-จะฮอน เมืองอิสฟาฮาน มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั้ง 4 ด้านของจัตุรัสมีสถาปัตยกรรมหลักทางประวัติศาสตร์ปรากฎอยู่ และหนึ่งในนั้นคือ สถาปัตยกรรม อาลี-กาพู ซึ่งมีความแตกต่างไปจาก 3 สถาปัตยกรรมที่หลือ เพราะอาลี-กาพู ไม่ใช่มัสยิดและซุ้มประตูใหญ่ แต่เป็นพระราชวังที่ชาห์ซะฟาวิดใช้เป็นพระที่นั่งในการรับชมการแข่งขันโปโลภายในจตุรัส นักช์-จะฮอน สถาปัตยกรรมชิ้นนี้มีความสูง 48 เมตร เริ่มก่อสร้างในสมัยชาห์อับบาส ซะฟาวิด ระหว่างปี 1595 – 1599 กระทั้งมีการดำเนินการต่อในสมัยตัวแทนของชาห์อับบาสที่ 1 อีก 70 – 100 ปี จนแล้วสร็จสมบูรณ์ พระราชวังอาลี-กาพูเป็นพระที่นั่งและทำเนียบรัฐบาลของสุลตานแห่งซะฟาวิด และใช้สำหรับการประชุมระหว่างชาห์กับอาคันตุกะและทูตจากต่างประเทศ  ในสมัยซะฟาวิด สถาปัตยกรรมอาลี-กาพู คือประตูใหญ่ที่นำไปสู่จัตุรัส นักช์-จะฮอน แต่ปัจจุบันเมื่อเข้าสู่จัตุรัสจะต้องหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับชมสถาปัตยกรรมดังกล่าว มุมมองอันงดงามของพระราชวังอาลี-กาพู แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มและศักดิ์ศรีทางสถาปัตยกรรมตะวันออก และให้มุมหนึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นตะวันตกด้วย  พระราชวังอาลี-กาพู ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเหมือนดั่งรูปแบบในปัจจุบัน โดยสถาปัตยกรรมดั้งเดิมเป็นเพียงประตูเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลซะฟาวิดที่มีความเป็นธรรมดาเท่านั้น แต่ในสมัยชาห์อับบาสมีการต่อเติมช่วงชั้นต่าง ๆ เข้ามา และสถาปัตยกรรม อาลี-กาพู จึงกลายเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของชาห์อับบาสที่ 2 อีกเช่นกัน ตัวอาคารพระราชวังมี 6 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นเชื่อมต่อกันด้วยบันไดที่ปูด้วยกระเบื้อง ชั้นล่างประกอบด้วยห้องโถงสองห้องเพื่อใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับศาลและการบริหารราชวังของซะฟาวิด  อีกหนึ่งส่วนที่น่าทึ่งสำหรับพระราชวังอาลี-กาพู คือ "ห้องดนตรี" บนผนังห้องนี้มีการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดยใช้รูปแบบแจกันคว่ำเป็นแบบในการบุผนัง ที่นอกจากจะทำให้ดูสวยงามแล้วยังทำให้เกิดเสียงก้องกังวานอีกด้วย หอระเบียง อาลี-กาพู ตั้งอยู่ชั้นสามและหันหน้าสู่จัตุรัส โดยมีเสา 18 เสา คอยค้ำยันดาดฟ้าและบนฝ้าเพดานไม้มีจิตรกรรมมากมายปรากฏอยู่ โดยตรงกลางหอระเบียงมีสระน้ำหินอ่อนซึ่งรูปแบบของมันปรากฏอยู่บนฝ้าเพดานของหอระเบียง จากหอระเบียงอันนี้สามารถมองเห็นจตุรัสได้ทุกส่วน ดังที่กล่าวไปข้างต้น บันไดของพระราชวังได้ถูกปูด้วยกระเบื้อง แต่เมื่อขณะเดินขึ้นบันไดทำให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่บนพรม อันเนื่องมาจากลวดลายที่งามของตัวกระเบื้องนั้นเอง หนึ่งในชิ้นงานที่โด่งดังของพระราชวังอาลี-กาพู คือประตูไม้ โดยกล่าวกันว่าถูกนำมาจากฮะรัมท่านอะลี เมืองนะญัฟ (อิรัก) ซึ่งจารึกที่ปรากฏบนประตูทางเข้าได้จารึกว่า “ฉัน (ศาสดามุฮัมหมัด) คือเมืองแห่งความรู้ และอะลีคือประตูแห่งเมืองนั้น” ได้ทำให้คำกล่าวที่ว่านี้ดูแข็งแรงขึ้น

อาลี-กาพู (Ali Qapu Palace)

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: