ซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้กับเผด็จการในอิหร่าน
นามของอยาตุลลอฮ์ ซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ เป็นเครื่องเตือนใจถึงการต่อสู้กับเผด็จการ เขาเกิดในปี 1249 ของอิหร่าน (1870 ค.ศ.) ในครอบครัวของซาด๊าต ตะบาตะบาอีย์ อาศัยอยู่ในซาราเบห์ ของอิสฟาฮานโมดัรริซอาศัยอยู่ในบ้านเกิดของเขาเป็นเวลา 16 ปี จากนั้นจึงไปที่อิสฟาฮานเพื่อศึกษาต่อ เขาไปอิรักในปี 1270 และร่ำเรียนกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงเช่น อยาตุลลอฮ มีรซา ฮาซัน ชีรอซี , มุลลา มูฮัมหมัด กาซิม โครอซานีย์และ ซัยยิด มูฮัมหมัด กาซิม ยัซดี และหลังจากที่ศึกษาเป็นเวลา8ปี เขาก็บรรลุขั้นอิจติฮาด ในปี 1278 เขากลับไปอิหร่าน เมืองอิสฟาฮานและเริ่มสอน
ซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ ในยุครัฐธรรมนูญ
รัฐสภาสมัยที่สองเป็นการเข้ามาอย่างเป็นทางการของโมดัรริซในด้านกิจกรรมทางการเมืองและรัฐสภา ในยุคนี้ ตามบทที่สองของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางการนะญัฟได้แนะนำมุจตาฮิดชั้นนำ 20 คน รวมถึงซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ เข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้5คนในจำนวนนั้นได้รับเลือก ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 ทีร ปี 1288 สภาแห่งชาติได้เลือกโมดัรริซและอีก4คนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบ
จุดยืนของโมดัรริซและสุนทรพจน์ที่หนักแน่นของเขาในช่วงปลายรัฐสภาสมัยที่ 2 ขัดต่อคำขาดของรัฐบาลรัสเซียที่ให้ขับไล่ชาวอเมริกัน มอร์แกน ชูสเตอร์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยค่าใช้จ่ายในการยุบรัฐสภานี้โดยนัสเซอร์ อัล-มัลค์ ในรัฐสภาสมัยที่3 โมดัรริซ อยู่ในฐานะตัวแทนของชาวเตหะราน แต่
ผ่านไปไม่ถึงหนึ่งปีของรัฐสภานี้ สงครามโลกครั้งที่1เริ่มขึ้น แม้อิหร่านจะประกาศความเป็นกลาง แต่สงครามก็แพร่กระจายไปยังดินแดนของอิหร่าน ด้วยคำแนะนำของโมดัรริซและความเห็นชอบของรัฐสภา จึงตัดสินใจว่ากลุ่มสส. ต้องอพยพไปยังเมืองกุมเพื่อต่อต้านกองกำลังผู้รุกรานและจัดตั้งรัฐบาลเงาเคียงคู่รัฐบาลหลัก
ด้วยเหตุนี้ สมาชิกรัฐสภา27คน พร้อมด้วยกลุ่มนักการเมืองและประชาชนทั่วไปได้ออกจากเตหะรานไปยังเมืองกุม ผู้อพยพได้จัดตั้งคณะกรรมการในเมืองกุมขึ้นเรียกว่า "คณะกรรมการป้องกันประเทศ" แต่กองทัพรัสเซียไปที่เมืองกุม และหลังจากความพ่ายแพ้ของผู้อพยพ กลุ่มหนึ่งพร้อมด้วยสุไลมาน มีร์ซา และโมดัรริซก็ไปยังอิสฟาฮานโดยผ่านเมืองกาชาน และผ่านภูเขาบัคติยอรีย์ทางตะวันตกของอิหร่าน ในเดือนชะอ์บานปี 1336 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โมดัรริซกลับไปที่เตหะรานพร้อมกับผู้อพยพคนอื่นๆ หลังจากนั้น2ปี เขาเริ่มสอนที่โรงเรียนเซพะห์ซอลอร์
ความขัดแย้งระหว่าง ซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ กับ เรซา ข่าน
ในปี 1290 โมดัรริซได้ดูแลโรงเรียนมัธยมเซพะห์ซอลอร์ (ปัจจุบันคือโรงเรียนชะฮีดมุเฏาะฮารีย์) และเริ่มสอนในโรงเรียนแห่งนี้ ในช่วงต่อมา การต่อสู้ของโมดัรริซมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เขาได้ต่อต้านผู้มีอำนาจหลายครั้งเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ บางครั้งเขาอยู่ในฮะรัมชาห์ อับดุล อาซิม (อ.) เพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาลของซัมซ็อม อัล-สุลต่าน บัคติยอรีย์ ต่อต้านสนธิสัญญาลัทธิล่าอาณานิคมในปี 1919 ประท้วงต่อต้านรัฐประหารของอังกฤษโดยเรซา ข่านและสาธารณรัฐของเรซา ข่าน เป็นต้น เรซา ข่าน สามารถดึงดูดผู้สนับสนุนของเขาเข้าสู่รัฐสภาโดยได้รับการสนับสนุนจากทหารในการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งที่ 5 ในช่วงแรก เขาได้เปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์ของอิหร่านเป็นรัฐบาลแบบสาธารณรัฐในวาระการประชุม โมดัรริซ เขียนจดหมายหลายฉบับส่งไปให้นักวิชาการและเมืองกุม ถึงการมีอยู่สาธารณรัฐของเรซา ข่าน หลังจากการเดินทางไปที่เมืองกุม นายพล เซพะห์ ได้ประกาศถอนตัวออกจากสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการตามความต้องการของนักวิชาการ ความท้าทายยังคงดำเนินต่อไป และ โมดัรริซ ตระหนักดีว่าทางออกเดียวคือการถอดถอนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 โมร์ดอด์ ปี 1303 พร้อมด้วยผู้แทน 6 คน เขาได้ฟ้องเรซา ข่าน เนื่องด้วยนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็น การลุกฮือเพื่อต่อต้านรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนไม่มอบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดให้รัฐบาล
การเนรเทศและการเป็นชะฮีดของซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ
ในที่สุด การต่อต้านของโมดัรริซ ต่อรัฐบาลกลางนำไปสู่การลอบสังหารเขาโดย อัมมาล เรซา ข่าน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเรซา ข่านจึงคัดค้านการเข้าสู่รัฐสภาที่ 7 ของโมดัรริซอย่างเปิดเผย และจับกุมเขาเมื่อวันที่ 16 เดือนเมห์ร ปี 1307 และเนรเทศเขาไปที่ดัมกอน์ ของเมืองมัชฮัด เขาถูกเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตเป็นเวลาหลายปีจนกระทั่งเขาถูกย้ายไปก็อชเมียร์ในวันที่ 22 เมห์ร 1316 และในเดือนออซัรของปีนั้น เขาถูกมีร์ซา กาซิม จาฮานซูซี เจ้าหน้าที่ตำรวจและตำรวจอีกสองคนสังหาร และในเดือนออซัร ร่างของเขาถูกฝังอยู่ในเมืองก็อชเมียร์ วันที่ 10 ธันวาคม ในปฏิทินแห่งชาติของอิหร่าน ได้รับการตั้งชื่อว่า "วันรัฐสภา" เนื่องในโอกาสการเป็นชะฮีดของเขา
ซัยยิด ฮาซัน โมดัรริซ สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้กับเผด็จการในอิหร่าน | |
โมดัรริซ | |
ศตวรรษที่ 13 (ค.ศ. 20) | |
กิฟายะตุ้ลอุศูล ราซาอิลุ้ลฟาเกียะฮ์ ริซาเลอี ดัร ตะรัตตุบ ริซาเลอี ดัร ชัรเตะ มุอัคคัร ริซาเลอี ดัร อุกูด วาอีกออ็อต ริซาเลอีดัรลุซูม วะอะดัม ลุซูม กับซ์ ดัร เมากูฟะฮ์ คำอธิบายหนังสือ อัลนิกาห์ของมัรฮูม อยาตุลลอฮ์ เชค มูฮัมหมัด ริฎอ นะญาฟีย์ มัสญิดชาห์ |