ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
เมาลาวีย์ กวีและนักรหัสยะชาวอิหร่านผู้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เมาลาวีย์ กวีและนักรหัสยะชาวอิหร่านผู้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เมาลาวีย์ กวีและนักรหัสยะชาวอิหร่านผู้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เมาลาวีย์เกิดในศตวรรษที่ 7 ของฮิจเราะห์ศักราชในบัลค์ในสมัยควาราซมชาห์ในเมืองโคราซาน ประเทศอิหร่าน และเสียชีวิตในเมืองคอนยา ประเทศตุรกี  มัษนาวีย์  ดีวานบทกวี หรือ กุลลียาต ชัมส์  รุไบยาต มักตูบาตร ฟีฮิมาฟีฮ์ และ มาญาลิสซับอะฮ์ เป็นผลงานของเมาลาวีย์ ซึ่งทั้งหมดเป็นภาษาเปอร์เซีย ญาลาลุดดีน มูฮัมหมัด บัลคีย์  คือชื่อเต็มของกวีชาวอิหร่านผู้โด่งดังผู้นี้ ซึ่งรู้จักทั่วโลกในชื่อ เมาลาวีย์ เมาลานา และ รูมีย์

เดินทางไปตุรกีเพื่อพบกับชัมส์

มูฮัมหมัด บิน ฮูเซน คาตีบี หรือที่รู้จักในชื่อ บาฮาอุดดีน วาลัด และสุลตานุ้ลอุลามา เป็นชื่อบิดาของเมาลาวีย์ ว่ากันว่า พ่อของเมาลาวีย์เห็นความไร้ความเมตตาของสุลต่านมูฮัมหมัด ควาราซมชาห์ ผู้ปกครองในยุคนั้น จึงเดินทางไปยังซีเรียผ่านเนชอบูร์ แบกแดด และมักกะฮ์ จากนั้นไปยังอาร์ซานจัน อาร์ซานจานเป็นหนึ่งในจังหวัดของตุรกีในภูมิภาคอนาโตเลียตะวันออก สุลต่านเซลจุค อะลาดิน กิคบัดขอให้บิดาของเมาลาวีย์เดินทางไปอาร์ซานจาน หมายถึงการพบปะกับอัตต็อร์ กวีชาวอิหร่านผู้โด่งดังอีกคน และได้รับหนังสือ "อัซรอรนอเมห์" เป็นของขวัญ เมาลาวีย์พบกับอัตฟาร์และลูกศิษย์ของนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ เช่น บูร์ฮานุดดิน มูฮักกิก ติรมิซี, กามาลุดดีนอิบนิอาดีม (นักกฎหมายฮานาฟีผู้ยิ่งใหญ่) และโมห์ยิดดีน อิบนิ อาราบี แต่ผู้ที่จุดประกายการปฏิวัติภายในจิตวิญญาณของเขา คือ ชัมส์ ตับริซี ก่อนที่จะพบกับชัมส์ เมาลาวีย์ เขาอยู่ในฐานะวิทยากรแทนบิดาของเขาอยู่พักหนึ่ง และเขาก็ยุ่งอยู่กับการอธิบายหลักการวิชาการศาสนาแทนโมห์ยิดดีน อิบนิ อาราบี หลังจากที่รู้จักกับชัมส์ ตับริซีแล้ว เขาก็เลิกการเทศนาและการบรรยาย และหันไปศึกษาบทกวีและกลายเป็นนักรหัสยะ

การแยกทางระหว่างจากชัมส์และสร้างผลงานที่ยั่งยืน

เวลาผ่านไป 16 เดือนนับตั้งแต่ที่ชัมส์และเมาลาวีย์พบกัน จู่ๆ ชัมส์ก็ออกจากคอนยาไปดามัสกัส นักประวัติศาสตร์ถือว่าเหตุผลของการแยกนี้เกิดจากความอิจฉาริษยาของผู้คนรอบตัวพวกเขา  ชัมส์กลับมาที่คอนยาอีกครั้งตามคำยืนกรานของ เมาลาวีย์ แต่กลับมาได้ไม่นาน คราวนี้เขาก็ออกจากคอนยาไปตลอดกาล มัษนาวีย์ มะอ์นาวีย์  และ ดีวาน ชัมส์ ซึ่งเป็นผลงานที่โดดเด่นและมีอิทธิพลสองชิ้นของเมาลาวีย์ ได้รับการตีพิมพ์หลังจากแยกทางกับชัมส์ตับรีซีย์ เมาลานาเขียนผลงานทั้งสองนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากเฮซามุดดิน ชาลาบี  ปัจจุบันบทกวีและร้อยแก้วของเมาลาวีย์ เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลหลักสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องฮิกมัตและรหัสยะ ที่พักอาศัยของเมาลาวีย์ รวมพื้นที่บางส่วนของประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และตุรกีในปัจจุบัน และด้วยเหตุนี้ ผลงานของเมาลาวีย์ จึงได้รับการแปลในประเทศเหล่านี้และมีผู้ติดตามผลงาน จำนวนมาก

บทกวีสุดท้ายของเมาลาวีย์

เมาลาวีย์เสียชีวิตในวันที่5ของเดือนญามาดิ้ลอาคิร ในปี ฮ.ศ. 672 เนื่องจากอาการป่วย เมื่ออายุได้ 66 ปี ญาติของเมาลาวีย์ต่างอยู่ข้างเตียงในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต หลังจากการตายของเขา ชาวเมืองคอนยา ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือคริสเตียนและชาวยิว ต่างร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียเมาลาวีย์เป็นเวลา 40 วัน บทกวีสุดท้ายของเมาลาวีย์ก่อนที่จะเสียชีวิต "ก้มลงไปที่เตียง ปล่อยฉันไว้ตามลำพัง/ ปล่อยให้ฉันพินาศในยามค่ำคืนและทนทุกข์เหมือนที่ฉันเป็น  สุสานและพิพิธภัณฑ์ของเมาลานาตั้งอยู่ในเมืองคอนยา

วันที่ 30 กันยายน ตรงกับวันที่ 8 เดือนเมหร์ ในปฏิทินประจำชาติของอิหร่าน ได้รับการตั้งชื่อให้เป็นวันรำลึกถึงเมาลาวีย์

เมาลาวีย์ กวีและนักรหัสยะชาวอิหร่านผู้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เมาลาวีย์ เมาลานา และ รูมีย์
ศตวรรษที่ 7
มัษนาวีย์ ดีวานบทกวี หรือ กุลลียาตชัมส์ รุไบยาต มักตูบาต ฟีฮิมาฟีฮ์ และ มาญาลิสซับอะฮ์
เมาลาวีย์

เมาลาวีย์

เมาลาวีย์

เมาลาวีย์ มีชื่อเต็มว่า ญาลาลุดดีน มูฮัมหมัด บัลคีย์  เกิดในปี 604 เสียชีวิตในปี  672 เป็นนักกวีชาวอิหร่านในศตวรรษที่ 7 เมาลาวีย์ อยู่ในมัสฮับฮานาฟีเหมือนกับบรรพบุรุษของเขา แต่บางคนถือว่าเขา เป็นชีอะฮ์เพราะบทกวีหลายบทที่เมาลาวีย์ แต่งบรรยายถึงอิมามอาลี (อ.) และเหตุการณ์กัรบาลา

เหตุการณ์ที่ทรงคุณค่าที่สุดในชีวิตของเมาลาวีย์ คือการพบกับ ชัมส์ ตับรีซีย์  เขารู้สึกทึ่งกับความศรัทธาและศาสนาของ ชัมส์ โดยที่เมาลาวีย์ทิ้งการเรียนและบรรยาย และติดตามชัมส์ไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต  เมาลาวีย์มีผลงานทั้งร้อยแก้วและบทกวี และหนังสือสองเล่ม มัษนาวีย์  มะอ์นาวีย์ และ ดีวาน ชัมส์ ซึ่งถือเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของเขาในวรรณคดีเปอร์เซีย

วันที่ 8 เดือนเมะห์ร ตามปฏิทินอิหร่าน ได้รับการขนานนามว่าเป็นวันชาติแห่งการรำลึกถึงเมาลาวีย์ ซึ่งมีการสร้างภาพยนตร์และซีรีส์เกี่ยวกับชีวิตของ เมาลาวีย์ ทั้งในอิหร่านและต่างประเทศ

ญาลาลุดดีน มูฮัมหมัด บัลคีย์  หรือรู้จักในนามเมาลาวีย์  และ มุลลา รูมีย์ คือนักกวีชาวอิหร่านและนักรหัสยะแห่งศตวรรษที่ 7 ตามจันทรคติ ในประวัติศาสตร์ของตะเศาวุฟในอิหร่านและในประวัติศาสตร์วรรณกรรมเปอร์เซีย ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เขาเกิดที่เมืองบัลค์ เมื่อวันที่ 6 รอบิอุลเอาวัล ฮ.ศ. 604ครอบครัวของเขา โดยเฉพาะบิดาของเขา คือนักวิชาการ นักเทศน์

ด้วยการโจมตีของมองโกลต่อภูมิภาคโครซัม ทางตอนเหนือของบัลค์ ประมาณปีฮ.ศ 616  เมาลาวีย์พร้อมด้วยบิดาของเขาและสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ออกเดินทางไปทำฮัจญ์ หลังจากเดินทางไปมักกะฮ์ประมาณปี 617 เขาก็มาถึงภูมิภาคโรมันตะวันออก (ตุรกีในปัจจุบัน) และได้รับการต้อนรับจาก สุลต่านเซลจุคแห่งภูมิภาคนั้น บาฮาอุดดีน วาลัด และครอบครัวพักอยู่ที่ กูนีเยะห์ หลังจากที่บิดาของเขาเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 628 เมาลาวีย์ได้นั่งตำแหน่งแทนบิดา เป็นผู้สอนและวินิจฉัยปัญหาในเมืองกูนีเยะห์

เมาลาวีย์ เสียชีวิตในกูนีเยะห์ เมื่อวันที่ 5 ญะมาดิลซานี ปี 672 ฮ.ศ และถูกฝังไว้ข้างบิดาของเขาในสุสานประจำตระกูล ซึ่งในปฏิทินของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน วันที่ 8 เมะห์ร ได้รับการตั้งชื่อให้เป็นวันรำลึกถึงเมาลาวีย์ นอกจากนี้ ทุกปีในวันเกิดของ เมาลาวีย์ จะมีการจัดพิธีในเมืองกูนีเยะห์ พิธีใหญ่อีกงานหนึ่งจัดขึ้นทุกปีในคืนที่เมาลาวีย์ เสียชีวิตในเมืองกูนีเยะห์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ชับเบะอะรูซ

หลังจากนั้นไม่นาน เกิดความอิจฉาและความไม่พอใจอย่างมากต่อความสัมพันธ์ระหว่างเมาลาวีย์และชัมส์ ตับรีซีย์   ด้วยเหตุนี้ ในปี 645 ชัมส์ ตับรีซีย์ จึงออกจากกูนีเยะห์โดยไม่แจ้งล่วงหน้า เมาลาวีย์ เดินทางไปยังเมืองต่างๆ เขาเดินทางไปที่ซีเรียสองครั้งเพื่อตามหาชัมส์ แต่ไม่มีวี่แววของชัมส์เลย ต่อมามีข่าวลือว่า ชัมส์ ถูกเพื่อนของเมาลาวีย์สังหาร และพวกเขาบอกว่า อะลาอุดดีน บุตรคนหนึ่งของเมาลาวีย์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารในครั้งนี้ แต่พวกเขาปิดบังเหตุการณ์นี้กับเมาลาวีย์ และด้วยเหตุนี้ ร่างของชัมส์ถูกพบในบ่อน้ำและได้ถูกนำไปฝังหลังจากที่เมาลาวีย์เสียชีวิต  Masnavi Manavi เป็นผลงานรหัสยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิหร่าน และเป็นหนึ่งในผลงานศิลปะและความคิดของมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมาลาวีย์

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: