ฮะกีมฟิรดูซีย์
25 اردیبهشت مطابق با 15 می روز بزرگداشت شاعر گرانمایه ایرانی؛ فردوسی
วันที่ 15 พฤษภาคม ตรงกับวันรำลึกถึงนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ของอิหร่าน ฟิรดูซีย์
ฮากีม อะบุกอเซม ตูซี ถูกรู้จักกันในนาม ฟิรดูซีย์ (ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยประมาณ 319 ถึง 397ตามปฏิทินอิหร่าน) ท่านเกิดใกล้ตูส ใน มณฑลโครอซาน และเสียชีวิตที่นั่นและศพถูกฝังไว้ที่นั่นเช่นกัน ท่านเป็นผู้ประพันธ์งานที่มีชื่อเสียงในอิหร่าน "ชอห์นอเมห์"
ท่านใช้ชีวิตอยู่ในช่วงที่เกิดขบวนการใหม่ในหมู่ชาวอิหร่านซึ่งเริ่มขึ้นในศตวรรษที่สามและถึงจุดสูงสุดในศตวรรษที่สี่ ในระหว่างนี้เองที่กวีและนักเขียนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในอิหร่านทำให้ภาษาดารีเปอร์เซียมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
ในวัยเด็กและวัยเยาว์ของท่านฟิรดูซีย์ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงสมัยการปกครองของราชวงศ์ซามานิด
ซอฮ์นอเมะฮ์ของท่านฟิรดูซีย์ เป็นงานมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่โดยรวมบทกวีถึง 60,000 บทในนั้น เป็นงานที่มีคุณค่ามากสำหรับเราในปัจจุบัน งานนี้ประกอบด้วยเรื่องราวตั้งแต่สมัยโบราณของอิหร่านจนถึงการมาของศาสนาอิสลามและผลงานที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นช่วงเวลาระหว่างการปกครองของราชวงศ์ทั้งสี่ ได้แก่ Pishdadians, Kianians, Parthians และ Sassanids
งานประพันธ์ชิ้นนี้มีสามส่วนด้วยกันคือ :
ส่วนตำนาน: เริ่มเล่าถึงเหตุการณ์ตั้งแต่สมัย Kiomers จนถึงรัชสมัยของ Fereydoun
ส่วนพะละวอนีย์ : เริ่มจาก Kaveh Ahangar ไปจนถึงการตายของ Rostam
และส่วนประวัติศาสตร์: เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของบาห์มานและกำเนิดของอเล็กซานเดอร์จนถึงการมาถึงของอิสลาม
บทประพันธ์เล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับครั้งแรกและต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ เช่นภาษาฝรั่งเศสซึ่งแปลโดย Jules Mel
วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ผู้คนชาวเปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุดและมีค่าที่สุดและมีเรื่องราวระดับชาติของชาวอิหร่านซึ่งได้รับการพิจารณาทั่วโลกและได้รับการแปลเป็นภาษาส่วนใหญ่ของโลก
ท่านฟิรดูซีย์ นักกวีล้ำค่าท่านนี้เป็นหนึ่งในกวีชาวอิหร่านจำนวนนับไม่ถ้วนที่รักบ้านเกิดเมืองนอนของตน พยายามเสริมสร้างและเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาษาแม่ ภาษาเปอร์เซียในผลงานชอฮ์นอเมะฮ์สวยงามมากจนไม่สามารถลืมลงได้
ตัวอย่างบทกวี:
چو ایران مباشد تن من مباد
بدین بوم و بر زنده یک تن مباد
اگر سربه سر تن به کشتن دهیم
از آن به که کشور به دشمن دهیم
ฮะกีมฟิรดูซีย์ | |