ซุห์รวัรดีและประกายแสงแห่งพระผู้เป็นเจ้า
คำว่า อิชร็อก หมายถึงการส่องแสง แต่ในแง่ของปรัชญาอิชร็อก หมายถึงการค้นพบและประจักษ์หรือการปรากฏตัวของแสงทางปัญญาและนำเข้าไปสู่จิตวิญญาณมนุษย์ ปรัชญาอิชร็อก คือปรัชญาที่ก่อตั้งโดยเชค อิชร็อก ชาฮาบุดดิน ซุห์รวัรดี ตามทัศนะของเชค อิชร็อก นักปรัชญาที่แท้จริงคือบุคคลที่นอกเหนือจากการเรียนรู้รากฐานทางปรัชญาและตรรกะที่เป็นแล้ว ยังสามารถก้าวผ่านระดับความสมบูรณ์แบบทางจิตวิญญาณด้วยการชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์และชำระล้างตัวตนภายในให้บริสุทธิ์ และค้นหาแสงสว่างแห่งพระผู้เป็นเจ้า
ซูห์รวัรดี เน้นในหนังสือของเขาว่า ปรัชญาของเขามีไว้สำหรับผู้ที่นอกเหนือจากการถกและพิสูจน์ถึงวิทยปัญญาแล้ว ยังประจักษ์ถึงแก่นแท้ของโลกที่สูงกว่าด้วย เขาถือว่าเงื่อนไขของการทำความเข้าใจปรัชญาของขาคือแสงที่ส่องประกายของพระผู้เป็นเจ้าในหัวใจของผู้อ่าน
ความแตกต่างของสำนักคิดอิชร็อกและมาชาอีย์
ดังที่กล่าวไปแล้ว ประเด็นหนึ่งที่ถูกกล่าวขานาหลังจากเชค อิชร็อกก็คือ ราชวงศ์อิชร็อกของเพลโต อุสต๊าดมุเฎาะฮะรีย์ เชื่อว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าเพลโตก็เช่นเดียวกับเชค อิชร็อกที่ถือว่าการขัดเกลาจิตวิญญานและประจักษ์ถึงด้านในคือเครื่องมือที่สำคัญของฮิกมัตและปรัชญา ยังเป็นสิ่งที่น่าสงสัยอยู่ เพราะจากมุมมองของอุสต๊าด ยังไม่ชัดเจนว่าเพลโตเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ประจักษ์ในสมัยของเขาหรือแม้แต่ในเวลาที่ใกล้เคียงกับสมัยของเขา และไม่ชัดเจนด้วยซ้ำว่าคำว่ามาชาอีย์ ถูกใช้เฉพาะกับอริสโตเติลและผู้ที่ตามเขาเท่านั้น แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือเชค อิชร็อก ได้รับอิทธิพลจากรหัสยะและมุตะเศาวิฟของโลกอิสลามโดยเลือกวิธีทางปรัชญาของเขาโดยเฉพาะ และแน่นอนว่าเขาได้เพิ่มแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับและนำเสนอปรัชญาใหม่ ซึ่งต่างจากสำนักคิดของมาชาอีย์ สำนักคิดอิชร็อกไม่มีนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นนอกจากเชคอิชร็อกเองซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสำนักคิดนี้ มีนักปรัชญาเพียงไม่กี่คนที่มีแนวโน้มไปทางเชค อิชร็อก ที่ได้อธิบายหนังสือของเชค อิชร็อก แม้ว่าบางคนจะเชื่อว่า มุลลาศัดรอ ผู้ก่อตั้งสำนักคิดปรัชญาที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในโลกอิสลามแต่ก็ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปรัชญาอิชร็อก กุตบุดดีน ชีรอซีย์ และ ชัมซุดดีน ชาห์ซูรีย์ เป็นหนึ่งในผู้เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับหนังสือของเชค อิชร็อกซึ่งเป็นหนังสือที่น่าสนใจของผู้ที่ชื่นชอบในปรัชญาอิชร็อก
การเกิดและเสียชีวิตของซุห์รวัรดี
ซุห์รวัรดี มีฉายาว่า อัลโมอัยยัตบิ้ลมาลากูต ซึ่งรู้จักในชื่อเชค อิชร็อก ซึ่งเกิดในปีฮ.ศ. 549 (ค.ศ. 1154) ในเมืองซุห์รวัรดีของเมืองซันญาน เขาเรียนรู้หลักนิติศาสตร์จากเชค มัจดุดดีน ญีลีย์ และ อุสต๊าด ฟัครุดดีน มูฮัมหมัด รอซีย์ ที่เมืองมาราเกห์ และเขามีความเชี่ยวชาญด้านฮิกมัต
เขาใช้เวลาหลายปีในการเดินทางและศึกษาในอิรักและซีเรีย จากนั้นเขาไปที่อิสฟาฮานและศึกษาตรรกะกับซอฮีรุดดีน ฟาร์ซี ในเมืองนี้เองที่เขาได้รู้จักกับทัศนะของอิบนุซีนาเป็นครั้งแรก ระหว่างที่เดินทางไปมาร์ดีนจากตุรกี เขาได้ไปเยี่ยม ฟัครุดดีน มาร์ดีนีย์ นักรหัสยะและปราชญ์ผู้โด่งดัง นอกจากนี้เขายังได้เดินทางไปยังเมืองอเลปโปและได้พบกับศอลาฮุดดีน อัยยูบี ศอลาฮุดดีน ขอให้ซุห์รวัรดีอยู่ในวังของเขา ซุห์รวัรดียอมรับข้อเสนอของเขาและตั้งรกรากอยู่ในวังของเมืองอเลปโป แต่เนื่องจากเขามีศัตรูที่เป็นนักวิชาการหลายคน เขาจึงถูกจำคุกในปีฮ.ศ. 587 (ค.ศ.1191) โดยคำสั่งของศอลาฮุดดีน อัยยูบี และถูกสังหารขณะอายุได้ 38 ปี เขาถูกฝังในเมืองอเลปโปของซีเรีย และถูกรู้จักในนามของเชค ชะฮีด วันที่ 30 กรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันที่ 8 โมร์ดอด ได้รับการตั้งชื่อว่า "วันรำลึกซุห์รวัรดี (เชค อิชร็อก)" ในปฏิทินประจำชาติอิหร่าน
ซุห์รวัรดีและประกายแสงแห่งพระผู้เป็นเจ้า | |
เชค อิชร็อก | |
ฮ.ศ.ที่549 | |
อัลฮิกมาตุ้ลอิชรอกียะห์ |