ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
บทบาทของอัลลามะห์ตะบาตะบาอีย์ในการพัฒนาปรัชญาอิสลาม

บทบาทของอัลลามะห์ตะบาตะบาอีย์ในการพัฒนาปรัชญาอิสลาม

บทบาทของอัลลามะห์ตะบาตะบาอีย์ในการพัฒนาปรัชญาอิสลาม

ซัยยิด มูฮัมหมัด ฮูเซน ตะบาตะบาอีย์  ถูกรู้จักในชื่อ อัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์ เป็นนักตัฟซีร นักปรัชญา อุศูล ฟะกีอ์ และนักรหัสยะ เขาเป็นหนึ่งในนักวิชาการชีอะฮ์ผู้มีอิทธิพล  อัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์ คือเจ้าของหนังสือ "ตัฟซีร อัลมีซาน" และ "ชีอะฮ์ในอิสลาม" และหนังสือที่เกี่ยวกับปรัชญา "บิดายะตุ้ลฮิกมะห์  นิฮายะตุ้ลฮิกมะห์" และ "หลักปรัชญาและวิถีสัจนิยม" เขาสอนบทเรียนตัฟซีรกุรอานและปรัชญาในสถาบันศาสนาของเมืองกุม การสอนตัฟซีรอัลกุรอานของเขาทำให้วิชาการด้านตัฟซีรความรู้เฟื่องฟูอย่างมากในสถาบันศาสนาของเมืองกุม วิธีตัฟซีรของเขาคือ ตัฟซีรกุรอานด้วยกุรอาน

ชีวประวัติและผลงานของอัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์

ตามอัตชีวประวัติของอัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์ เขาเกิดที่เมืองตับรีซ บิดาของเขา ฮัจย์ มีร์ซา บาเก็ร์ และลุงของเขา มีร์ซา อาซาดุลลอฮ์ ซึ่งเป็นนักวิชาการของเมืองตับรีซ  อัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์ ศึกษาชั้นประถมในโรงเรียนที่บ้านเกิดของเขา จากนั้นเขาก็ไปที่โรงเรียนศาสนาตาลิบียะห์ และศึกษาวิชาการศาสนาและภาษาอาหรับ  เรียนรู้วิชาการพื้นฐาน จากนั้นเขาเรียนวิชาฟิกฮ์ในหนังสือ ชัรฮ์ ลุมอะฮ์ และ มากาซิบ ในศึกษาหนังสือ  มาอาเล็ม  กาวานีน ราซาอิล  และ  กิฟายะห์ ในวิชาตรรกะเขาเรียนหนังสือ  กุบรอ ฮาชิยะห์  และ ชัรฮ์ชัมซียะห์  ในปรัชญา เขาศึกษาหนังสือ  ชัรฮ์อิชาร็อต  และเทววิทยาศึกษาหนังสือ กัชฟุ้ลมุร็อด

ในปี 1304  เขาศึกษาต่อที่เมืองนะญัฟ โดย ร่ำเรียนกับอยาตุลลออ์ ออกอ เชค มูฮัมหมัด อิสฟาฮานีย์ หลักสูตรคอเล็จอุศูลและคอเล็จฟิกฮ์ นอกจากนี้ เขายังได้เรียนกับ อยาตุลลอฮ์ นาอีนีย์   อยาตุลลอฮ์ ออกอ ซัยยิด อบุ้ลฮาซัน อิศฟาฮานีย์ และอยาตุลลอฮ์ ฮุจญัตกุห์กามาเลอีย์   ฮัจญ์ มีร์ซา อาลี ออกอ ตะบาตะบาอีย์ ตับรีซี   ออกอ ซัยยิด ฮูเซน บ็อตคูเบอีย์  และอยาตุลลอฮ์ ซัยยิด อบุลกอเซ็ม คุลซอรีย์ หลังจากเดินทางกลับอิหร่านแล้ว เขาได้กลับไปยังบ้านเกิดในปี ฮ.ศ. 1314 และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 10 ปี เขามาที่เมืองกุมอีกครั้งในปี ฮ.ศ. 1325 และศึกษาที่สถาบันศาสนาที่นั่น


การประชุมทางวิชาการของอัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์ กับ เฮนรี คาร์โบนนักปรัชญาและผู้เชี่ยวชาญด้านชีอะฮ์ชาวฝรั่งเศส ได้วางรากฐานสำหรับการแนะนำชีอะฮ์แก่ชาวยุโรป บทสัมภาษณ์ของอัลลามะห์ กับ เฮนรี คาร์โบนได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาเปอร์เซีย อาหรับ ฝรั่งเศส และอังกฤษ และบทสัมภาษณ์ชุดแรกได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาเปอร์เซียภายใต้ชื่อ สำนักคิดชีอะฮ์

การพัฒนาปรัชญาอิสลาม

จากผลงานทางวิชาการ  งานเขียน และสุนทรพจน์ของอัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์  เราสามารถชี้ให้เห็นถึง5แกนหลักที่เกี่ยวข้องกับการขยายปรัชญาอิสลามโดยอัลลามะห์ แกนแรกคือการเติบโตและพัฒนาการของปรัชญาอิสลาม เขาส่งเสริมและสร้างสถาบันปรัชญาอิสลามโดยการประพันธ์หนังสือ  บิดายะตุ้ลฮิกมะห์  และ นิฮายะตุ้ลฮิกมะห์ การสอนปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮิกมัตมุตาออลีเยห์ และ อัซฟาร์ของ มุลลาศัดรอ อิบดาอาต์ฟัลซาฟีย์  

หลักที่สอง ในภาควิชาการรู้จักศาสนาคือ ความเชื่อและวิชาการเทววิทยา ในบริบทนี้ เขาอธิบายพื้นฐานความเชื่อโดยใช้การหลักการทางปรัชญา นอกจากนี้ เขามีการอธิบายโครงสร้างทางศาสนาที่ทันสมัย เขาได้เขียนบทความ "อัลวิลายะห์" หนังสือ "ชีอะฮ์ในอิสลาม" และ "กุรอานในอิสลาม" อีกส่วนหนึ่งคือไขข้อสงสัย  อัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์  มีหนังสือเฉพาะที่เกี่ยวกับโครงสร้างทางศรัทธา เช่นหนังสือ "วิวรณ์หรือจิตสำนึกลึกลับ" "อาลีและปรัชญาแห่งพระผู้เป็นเจ้า" เป็นต้น นอกจากนี้ ในตัฟซีรอัลมีซานของอัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์  มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับอัลกุอาน วิชาการอิสลาม และวิชาการที่เกี่ยวกับรากฐานทางเทววิทยา

ศีลธรรมภาควิชาการและภาคปฏิบัติ

แกนที่สาม คือ มานุษยวิทยา มานุษยวิทยาเป็นพื้นฐานและแกนกลางของวิชาการอิสลาม เขาเขียนผลงานมากมายโดยมีข้อมูลทางปรัชญาและรหัสยะ เช่น "มนุษย์ก่อนมายังโลก  มนุษย์ในโลก มนุษย์หลังจากโลก" แกนที่สี่คือเรื่องจริยธรรม อัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์  มีแนวคิดและนวัตกรรมใหม่สองประการในการอภิปรายเรื่องศีลธรรม ประการแรก ในส่วนศีลธรรมทางทฤษฎี เขานำเสนอ "ทฤษฎีเอียะติบอรีย์" จากตรงนี้ ซึ่งจะได้รับคำอธิบายใหม่ๆเกี่ยวกับข้อมูลทางศีลธรรม ประการที่สอง ในส่วนของศีลธรรมในภาคปฏิบัติ เขาได้กล่าวถึงประเด็นนี้ผ่านการตีความในตัฟซีรอัลมีซาน ซึ่งเขาอธิบายหลักคำสอนที่ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าในอัลกุรอานจากข้อมูลทางศีลธรรม

แกนที่ห้า ขยายปรัชญาในมนุษยศาสตร์ เขาได้เขียนผลงานโดยเฉพาะด้านสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ กฎหมาย ประเด็นการตัรบียะตีย์ และบางส่วนจากวิชการด้านจิตวิทยา และใน "อัลมีซาน" เขาได้กล่าวถึงหัวข้อโดยละเอียดในมนุษยศาสตร์

วันที่ 15 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันที่ 24 ออบอน์ ได้รับการขนานนามให้เป็นวันรำลึกถึงอัลลามะห์ ตะบาตะบาอีย์ ในปฏิทินประจำชาติของอิหร่าน

บทบาทของอัลลามะห์ตะบาตะบาอีย์ในการพัฒนาปรัชญาอิสลาม
ศตวรรษที่ 14
ตัฟซีรอัลมีซาน ชีอะฮ์ในอิสลาม บิดายะตุ้ลฮิกมะห์ นิฮายะตุ้ลฮิกมะห์ หลักปรัชญาและวิถีสัจนิยม

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: