ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
ญะอ์ฟัร บอยัซนัฆรีย์  และ บทบาทของเขาในการพัฒนาอักษรนัสตะอ์ลีก

ญะอ์ฟัร บอยัซนัฆรีย์ และ บทบาทของเขาในการพัฒนาอักษรนัสตะอ์ลีก

ญะอ์ฟัร บอยัซนัฆรีย์ และ บทบาทของเขาในการพัฒนาอักษรนัสตะอ์ลีก

ญะอ์ฟัร บิน อาลี ตับรีซี บอยัซนัฆรีย์ นักประดิษฐ์อักษรคาลิกาฟี นัสตะอ์ลีกในศตวรรษที่ 9 ซึ่งรู้จักกันในฐานะอาจารย์คนแรกของการเขียนอักษรนัสตะอ์ลีกในศตวรรษที่ 9 และชื่อเสียงของตับรีซี บอยัซนัฆรีย์ เกิดจากการเขียนหนังสือ "ชาห์นอเมห์ บอยัซนัฆรีย์" ซึ่งเป็นสำเนาภาพประกอบของ "ชาห์นอเมห์" โดยเฟร์โดว์ซี

ญะอ์ฟัร ตับรีซี บอยัซนัฆรีย์ ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยอักษรนัสตะอ์ลีกที่งดงาม โดยมีอายุประมาณระหว่างปี ค.ศ.816 ถึง ค.ศ.856 ต้นกำเนิดและภูมิหลังของเขามาจากตับรีซ อาจารย์ตับรีซี บอยัซนัฆรีย์ ยังมีชื่อเสียงในหมู่ประชาชนโดยมีชื่อว่า "เฮ็รวีย์" ด้วย

เขาเคยอาศัยอยู่ที่เมืองเฮรัต และการอยู่อาศัยในเมืองนี้นานๆ ทำให้เขาได้รับฉายา "เฮ็รวีย์" อีกด้วย "อัยนุ้ลอะอ์ยาน" เป็นฉายาอีกชื่อหนึ่งของเขา "กิบลาตุ้ลกิตาบ" และ "กามาลุดดีน" เป็นฉายาที่ซุลต่าน อาลี กอเยนี มอบให้  กอเยนีเองก็เป็นนักคาลิกาฟีชื่อดังในปลายศตวรรษที่ 9 และต้นศตวรรษที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช

ตับรีซี บอยัซนัฆรีย์ ถูกยกย่องว่าเป็นนักประดิษฐ์อักษรคาลิกาฟี นัสตะอ์ลีกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 9 ฮิจเราะห์ อาจารย์นักประดิษฐ์อักษรชาวอิหร่านท่านนี้ยังได้พยายามอย่างมากในการเผยแพร่การเขียนอักษรนัสตะอ์ลีกและประสบความสำเร็จในด้านนี้ เขาสามารถแสดงความงดงามของอักษรนัสตะอ์ลีกด้วยลายมือที่สวยงามของเขาและดึงดูดความสนใจและความนิยมจากประชาชนให้หันมาชื่นชอบอักษรสไตล์นี้

การเข้าสู่ราชสำนักของมีรซาบอยัซนัฆรีย์
ญะอ์ฟัร บิน อาลี ตับรีซี บอยัซนัฆรีย์  เป็นศิษย์ของมีรอับดุลลอฮ์ บุตรชายของมีรอาลี ตับรีซี (เฮ็ร์วีย์) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการเขียนอักษรนัสตะอ์ลีก   มีรซาญะอ์ฟัร ได้เรียนรู้การเขียนอักษรนัสตะอ์ลีก จากมีรอาลี  มีการกล่าวกันว่าเขาเขียนได้สวยกว่าครูของตนเองและมีชื่อเสียงโด่งดังกว่าอีก  มีรซาญะอ์ฟัรยังได้ศึกษา "อักษรหลัก" จากชัมซุดดีน กุตอบี มัชริกี

6 ประเภทของการเขียนอักษร ได้แก่ ซุลซ์  รัยฮาน นัชค์  เรกออ์  เตาเกียะอ์ และ มุฮักกิก เป็นอักษรหลักในศิลปะการเขียนอักษรอิสลาม ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า "อักษรหลัก" ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของตัวอักษรเหล่านี้ได้แก่ในผลงานของมีรซาญะอ์ฟัร ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทูบิงเงนในประเทศเยอรมนี

ในระเบียนดังกล่าวมีการผสมผสานศิลปะหลายแขนงรวมทั้งการเขียนอักษร ซึ่งมีรซาญะอ์ฟัร ได้รับการฝึกฝนในราชสำนักของชาห์รูค ติมูร์  และบุตรชายของเขา บอยัซนัฆร์มีรซา มีความสนใจอย่างยิ่งในตัวมีรซาญะอ์ฟัร ในตอนที่เขายังอยู่ที่ตับรีซ ก่อนที่จะเข้าไปในราชสำนักของบอยัซนัฆร์มีรซา มีรซาญะอ์ฟัรเคยอยู่ในราชสำนักของมีรอนชาห์ บิน ติมูร์ และเริ่มเขียนที่ห้องในพระราชวังที่มีชื่อว่า "ชาเฮลซุตูน" หลังจากเข้าสู่ราชสำนักของบอยัซนัฆร์มีรซา

มีการกล่าวถึงว่าภายในวังบอยัซนัฆร์มีรซา มีนักเขียนและนักเขียนอักษร 40 คนที่ทำงานอยู่ และมีรซาญะอ์ฟัร ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถที่สุดและเป็นอาจารย์ของพวกเขาทั้งหมด บอยัซนัฆร์มีรซา จึงได้แต่งตั้งเขาเป็นผู้ดูแลห้องสมุดของพระองค์เอง ด้วยแรงสนับสนุนจากบอยัซนัฆร์มีรซา มีรซาญะอ์ฟัร จึงเริ่มต้นการเขียนหนังสือ "ชาห์นอเมห์ บอยัซนัฆรีย์ " โดยมีภาพวาดจำนวน 22 ภาพในหนังสือชาห์นอเมห์ที่เขียนด้วยอักษรสวยๆ ของมีรซาญะอ์ฟัร ภาพเหล่านี้ยังคงอยู่ในสภาพที่ดีและถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดพระราชวังมิวเซียมโกเลสตาน หลังจากเสร็จสิ้นการเขียนภาพทั้ง 22 ภาพแล้ว มีรซาญะอ์ฟัร ได้มอบให้แก่ชาห์บอยัซนัฆร์มีรซา

ผลงานและศิษย์ของมีรซาญะอ์ฟัร บอยัซนัฆรีย์
มีรซาญะอ์ฟัร กับศิษย์ที่เขาฝึกสอน ได้ดึงความสนใจของสาธารณชนไปที่การเขียนตัวอักษร (คาลิกาฟี) ศิษย์ที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ อัซฮัร ตับรีซี ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษรนัสตะอ์ลีก  มูฮัมหมัด ซัรรีน-กาลัม ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนแบบคาฟีย์  อับดุลฮัย มาเนชีย์ อิสเติร์ออบอดีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษรตะอ์ลีก และอับดุลลอฮ์ เต็บบาค์เฮ็รรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเขียนพื้นฐาน ชาห์นอเมห์ของบอยัซนัฆรีย์ เป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของมีรซาญะอ์ฟัร หนังสือและผลงานต่างๆ ของเขาได้รับการเก็บรักษาไว้ซึ่งบางเล่มอยู่ในอิหร่าน ชาห์นอเมห์ของมีรซาญะอ์ฟัร ถูกเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์พระราชวังโกเลสตาน  ดีวานของบทกวี โดยฮาซัน เดห์ลาวีที่ เขียนโดยมีรซาญะอ์ฟัร ถูกเก็บรักษาในห้องสมุดของรัฐสภาอิสลาม และกุลลียาต์ของฮัมมาม ตับรีซีย์  อีกผลงานหนึ่งของมีรซาญะอ์ฟัร ที่ถูกเก็บรักษาอยู่ในปารีส

มีรซาญะอ์ฟัร เขียนหนังสือเล่มนี้ก่อนที่จะเข้าสู่ราชสำนักของเจ้าชายบอยัซนัฆร์มีรซา  มีรซาญะอ์ฟัร ยังได้เขียนหนังสือดีวานของฮาฟิซ ด้วยลายมือแบบนัสตะอ์ลีกซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามและตุรกีที่เมืองอิสตันบูล กุเลสตานของซะอ์ดีย์ ก็เป็นอีกผลงานที่เหลือไว้ของเขา มีรซาญะอ์ฟัร ยังเป็นกวีอีกด้วย เมื่อเจ้าชายบอยัซนัฆร์มีรซา เสียชีวิต เขาได้เขียนบทกวีเพื่อแสดงความเสียใจให้กับชาห์รูค (บิดาของเจ้าชายบอยัซนัฆร์มีรซา) บทกวีนี้แสดงให้เห็นถึงรสนิยมและพรสวรรค์ของมีรซาญะอ์ฟัร เขาเสียชีวิตในปี 885 ฮิจเราะห์ศักราช

 

 

 

ญะอ์ฟัร บอยัซนัฆรีย์ และ บทบาทของเขาในการพัฒนาอักษรนัสตะอ์ลีก
บอยัซนัฆรีย์
ศตวรรษที่ 9
ชาห์นอเมห์ บอยัซนัฆรีย์ ดีวานบทกวีของฮาซัน เดห์ลาวี กุลลียาต์ของฮัมมาม ตับรีซีย์
Yard periodthe past

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: