ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
บุคลิกภาพของท่านอิมามโคมัยนี ร.ฏ

บุคลิกภาพของท่านอิมามโคมัยนี ร.ฏ

บุคลิกภาพของท่านอิมามโคมัยนี ร.ฏ
อยาตุลลอฮ์ ซัยยิด รูฮุลลอฮ์ มุสตะฟะวีย์  มูซาวี โคมัยนี หรือที่รู้จักในนาม อิมามโคมัยนี ถือกำเนิดปี 1902 ณ เมือง โคเมน บิดาของท่าน มีนามว่า ซัยยิด มุสตอฟา ซึ่งเป็นหนึ่งในนักการศาสนาที่โดดเด่นของ เมืองโคเมน  ซึ่งในสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดในช่วงปีสุดท้ายของยุค กอญอร  บิดาของท่านเป็นที่พึ่งพาและสถานที่ไปมาหาสู่สำหรับประชาชน . 
ท่านอิมามศึกษาการอ่านเขียนและศึกษาศาสนาในบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านเรียนรู้ศาสนาขั้นพื้นฐานกับพี่ชายของท่าน คือ อยาตุลลอฮ์ พะซันดีเดะฮ์ มีการก่อตั้งสถาบันศาสนาที่เมืองอารัค หลังจากนั้นที่เมืองกุม โดยท่านอยาตุลลอฮ์ อับดุลการีม ฮาฮิรีย์ ญัซดี ท่านอิมามได้เดินทางไปที่เมืองนั้น หลังจากที่เรียนรู้หลักนิติศาสตร์และอุศุลแล้ว ท่านได้บรรลุระดับผู้เชี่ยวชาญด้านวินิจฉัยศาสนา(อิจญ์ติฮาด) และท่านได้สอนในสถาบันศาสนาเมืองกุม. 
ท่านเริ่มการต่อสู้ทางการเมืองในยุคสมัยของเรซา ชาห์ ในช่วงที่มีการห้ามคลุมฮิญาบ  ท่านได้สนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำมันให้เป็นอุตสาหกรรมแห่งชาติ หลังจากนั้น ท่านให้ความสำคัญการปฏิรูปกิจการสถาบันศาสนาเมืองกุม
ชาห์ได้ตัดสินใจอย่างจริงจังในการลงประชามติเกี่ยวกับการปฏิวัติสีขาวในปี 1963 เป็นเหตุให้อิมามต้องคว่ำบาตรประชามตินั้น ซึ่งต้นปี 1964 ตรงกับวันชะฮาดัตของท่านอิมาม ญะอ์ฟัร ศอดิก อ. พิธีไว้ทุกข์ถูกจัดขึ้นในเมืองกุม และวันที่ 2 ฟัรวัรดีน รัฐบาลทรราชได้โจมตีพิธีไว้ทุกข์ที่จัดขึ้นที่โรงเรียนฟัยซีเยะฮ์ ได้เฆี่ยนตีและทำร้ายร่างกายนักการศาสนา
สี่สิบวันหลังจากเหตุการณ์ที่ ฟัยซีเยะฮ์  อิมามโคมัยนี ได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างดุเดือดโจมตีมูฮัมหมัด เรซา ชาห์ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมท่านอิมามในเดือนมิถุนายน ปี  1964
ในระหว่างการลงมติเอกฉันท์กฎหมายการยอมจำนน(กฎหมายคดีคุ้มครองทหารสหรัฐในอิหร่าน)ในเดือนพฤศจิกายน  1965 ท่านอิมามได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ดุเดือดอีกครั้งโจมตีชาห์ เป็นเหตุให้ท่านอิมามถูกจับกุมและเนรเทศไปยังตุรกีและจากนั้นไปยังนะญัฟ ประเทศอิรัก
ในปี 1977 บุตรชายคนโตของท่านอิมาม ซัยยิดมุศตาฟาถูกทำชะฮีดและประชาชนทั่วประเทศจัดพิธีไว้ทุกข์เพื่อเป็นข้ออ้างในการโจมตีระบอบชาห์ปาห์ลาวี การแพร่กระจายของการประท้วงเหล่านี้กระตุ้นให้ระบอบปาห์ลาวีร่วมมือกับระบอบบาอาติสต์ในอิรักเพื่อตัดสินใจขับไล่อิมามออกจากประเทศนั้น
ดังนั้นอิมามจึงตัดสินใจเดินทางไปคูเวต แต่ถูกรัฐบาลขัดขวางห้ามเข้าประเทศ จากนั้นท่านอิมามเดินทางไปฝรั่งเศสและใช้ชีวิตในเมืองนูแวล ลูซาตู หลังจากการประท้วงของประชาชนในอิหร่านอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งชาห์ต้องหนีออกนอกประเทศในวันที่ 17 ธันวาคม  1978 ท่านอิมามเดินทางกลับสู่ประเทศอิหร่านเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ท่ามกลางการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่โดยประชาชนหลายล้านคน
 ท่านอิมาม อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1989 ร่างของท่านถูกฝังใน สุสานเบเฮชตี้ ซะฮ์รอ กรุงเตหะราน พร้อมด้วยพิธีแห่ศพอย่างยิ่งใหญ่ที่เต็มไปด้วยประชาชนทุกสารทิศทั่วประเทศ
ผลงานของท่านอิมามโคมัยนี ได้แก่  : 1- กัชฟุลอัซรอร์  2- มินฮาจญุ้ล นิฮาญะฮ์   3- หนังสือวินิจฉัยปัญหาศาสนา  เตาฏีฮุ้ล มะซาอิล 4- ฮาชียะ บัร มิฟตาฮุ้ล ฆ็อยบ์  นอกจากนั้นท่านยังได้ประพันธ์กวีนิพนธ์และบทกวีอีกด้วย
 
 
บุคลิกภาพของท่านอิมามโคมัยนี ร.ฏ

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: