ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
ฟารอบีย์ ผู้เชื่อมโยงระหว่างศาสนาและปรัชญา

ฟารอบีย์ ผู้เชื่อมโยงระหว่างศาสนาและปรัชญา

ฟารอบีย์ ผู้เชื่อมโยงระหว่างศาสนาและปรัชญา

สถาปนาปรัชญาอิสลาม

อบู นัศร์ มูฮัมหมัด บิน มูฮัมหมัด บิน ตัรคาน บิน เอาซ์ลัฆ มีสมญานามว่า มุอัลเล็ม ซานีย์ ผู้ก่อตั้งปรัชญาอิสลามและเป็นผู้ถ่ายทอดตรรกะอย่างเป็นทางการของกรีกสู่โลกอิสลาม และเป็นหนึ่งในนักปรัชญาและนักวิชาการชาวอิหร่านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง เกิดที่เมือง ฟาร็อบ  ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำไนล์ ฟารอบีย์ เดินทางไปแบกแดดเพื่อศึกษาวิชาการ กับอาจารย์ระดับสูง เช่น อบู บัชร์ มัตตี จากนั้นเขาก็เดินทางไปฮารอน ซึ่งเขาสำเร็จการศึกษาวิชาการด้านตรรกศาสตร์กับยูฮันนา บิน ฮีลัน ปราชญ์และนักปรัชญาชาวคริสเตียน  เขาเดินทางไปซีเรีย อียิปต์ ฮารอน และโมโรว์ เขาศึกษาและเขียนหนังสือที่นั่น ในช่วงชีวิตของเขา เขาได้อบรมลูกศิษย์หลายคน เช่น ยะห์ยา บิน อาดีย์   ฟารอบีย์มีความรู้วิชาการด้านดนตรีและเขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับด้านนี้  ผลงานส่วนใหญ่ของเขาอยู่ในสาขาปรัชญา ตรรกะ สังคมวิทยา และยังมีการเขียนสารานุกรมด้วย เขาเป็นนักปรัชญาคนแรกที่เฉิดฉายในยุคอิสลาม จึงได้ชื่อว่า "ปรมาจารย์แห่งนักปรัชญ์"  ฟารอบีย์อยู่ในสำนักคิดนีโอพลาโทนิสต์ ซึ่งเขาพยายามประสานแนวคิดของเพลโตและอริสโตเติลกับเทววิทยาความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า  เขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักคิดมาชาอีย์  ในปรัชญาอิสลาม เขาถูกเรียกว่า "มุอัลเล็ม ซานีย์ " (อาจารย์ท่านที่2)  เนื่องจากคำอธิบายอันมีค่าที่เขาเขียนเกี่ยวกับผลงานของอริสโตเติล

ผลงานและมุมมองของ ฟารอบีย์

ในบรรดาผลงานของฟารอบีย์เราสามารถพูดถึง อัลญัมอ์ บัยเน รอยี อัลฮะกีมัยน์ , อิฆรอด มาบะดุลตาบีอะฮ์, เอียะศออุ้ลอุลูม, ออรออะฮ์ลุลมาดีนะห์ อัลฟาฏิละห์, อุยูนุ้ลมาซาอิล, ตะห์ซีลุลซะอาดะห์, ริซาละฮุ้ล ฟีมาฮิยะฮุ้ลอักล์, อัล-ซิยาซะฮ์ อัล-มาดานียาห์,  ริซาละห์ฟีอิซบาตุ้ลมุฟาริก็อต, กีตาบุ้ลฮุรูฟ, อัลมัดค็อล อิลา เศาะนาอะฮุ้ลโมว์ซีกีย์ และฟุซูซุ้ลฮิกัม   ในผลงานของเขา ฟารอบีย์พยายามแสดงศาสนาของโลกโดยยึดหลักปรัชญาและจริยธรรม และพยายามออกแบบยูโทเปียซึ่งคุณธรรมทางทฤษฎีนำไปสู่การตระหนักรู้ถึงคุณธรรมทางศีลธรรม และคุณธรรมทางศีลธรรมนำไปสู่การเกิดขึ้นของคุณธรรมเชิงปฏิบัติ การเชื่อมกันระหว่างศาสนาและวิชาการยังถือเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการคิดทางศาสนาและการเมืองของฟารอบีย์ เพื่อให้เกิดขึ้นซึ่งชีวิตที่สงบสุขทางสังคม

นักสันโดษและนักคิด

ฟารอบีย์ เดินทางไปยังดามัสกัสในปีฮ.ศ. 330 (ค.ศ. 941) และเข้าร่วมกับซัยฟ์ อัล-เดาละฮ์ ฮัมดานี ผู้ปกครองเมืองอเลปโป ซึ่งเขากลายเป็นหนึ่งในนักวิชาการในราชสำนัก  ฟารอบีย์เสียชีวิตในเมืองดามัสกัสในปี ฮ.ศ. 338 (ค.ศ. 949) เมื่ออายุได้ 80ปี นักประวัติศาสตร์อิสลามเชื่อว่า ฟารอบีย์เป็นนักสันโดษและนักคิด  ออกห่างจากเรื่องทางโลกถึงขนาดที่แม้ว่า ซัยฟ์ อัล-เดาละฮ์ จะกำหนดเงินเดือนจำนวนมากให้เขาจากคลังบัยตุ้ลมาน แต่เขาก็พอเพียงแค่4ดิรฮัมต่อวัน   

วันที่ 21 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันที่ 30 เดือน ออบอน ในปฏิทินประจำชาติของอิหร่าน ได้รับการขนานนามว่าเป็นวันแห่งฮิกมัตและปรัชญาภายใต้ชื่อ "วันรำลึกอบู นัศร์ ฟารอบีย์ "

ฟารอบีย์ ผู้เชื่อมโยงระหว่างศาสนาและปรัชญา
มุอัลเล็ม ซานีย์ (อาจารย์ท่านที่2)
ฮ.ศ. 259
โมว์ซีกี กาบีร ออรออะฮ์ลุลมาดีนะห์ อัลฟาฏิละห์ เอียะศออุ้ล อุลูม อัลเอียะศอ วัล อีกออาต์

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: