รหัสยะของอิสลามในผลงานของอับดุลเราะห์มานญอมีย์
ผลงานอันโด่งดังของญอมีย์
ฮัฟโอร์แร็งก์ " เป็นหนึ่งในผลงานที่สำคัญที่สุดของกวีนิพนธ์ญอมีย์ ในหนังสือเล่มนี้ญอมีย์ เล่าเรื่องราวมหากาพย์ ประวัติศาสตร์ที่โรแมนติก และความรู้
ฮัฟโอร์แร็งก์ ประกอบด้วยเจ็ดส่วน มัษนาวีย์เซ็นเซลาตุซซะฮับ (เกี่ยวกับประเด็นทางศาสนาและศีลธรรมพร้อมกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขียนในนามของสุลต่านฮูเซน บายักรอ) ซาลามอน์วะอับซอน (เรื่องราวโรแมนติกและรหัสยะแห่งกรีก) " ตะฮัฟฟะตุ้ลอะห์รอร" (มัษนาวีย์นักรหัสยะและศาสนานามว่า ชื่อคอเญห์ นาศิรุดดีน นักช์บันดีย์), "ซับฮะตุ้ลอับรอร์" (เกี่ยวกับตะเศาวุฟและประเด็นทางศีลธรรมที่มีอุปมามากมาย), "ยูซุฟวะสุไลคอ" (เป็นมัษนาวีย์ที่ดีที่สุดของ ญอมีย์ ชื่อว่า สุลต่านฮูเซน), "ไลลาและมัจนูน" และ "คัดร์นอเมห์อิสกันดารีย์" ที่ชี้ถึงปัญญาและประเด็นทางปรัชญา
"นาฟาฮาตุ้ลอุนซ์ เป็นชื่อของหนังสือชื่อดังอีกเล่มหนึ่งของญอมีย์ ในหนังสือเล่มนี้ ญอมีย์ ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงของรหัสยะและกล่าวถึงสถานภาพของรหัสยะตั้งแต่เริ่มงานจนกระทั่งผู้เขียนถึงแก่กรรมญอมีย์ เป็นที่รู้จักในฐานะกวีผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในยุคตัยมูริด ยุคตัยมูริดเป็นช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอิหร่าน ซึ่งมีการพัฒนาอย่างกว้างขวางในด้านกวีนิพนธ์เปอร์เซีย
ความสนใจของเจ้าชายและสุลต่านในยุคนั้นต่อบทกวีและกวีนิพนธ์เป็นสาเหตุหนึ่งของความเจริญรุ่งเรืองนี้ เจ้าชายเหล่านี้สนับสนุนศิลปะและวรรณกรรมอย่างมาก และการสนับสนุนญอมีย์ และความเจริญรุ่งเรืองของกวีคนนี้ในยุคนั้นทำให้เขายิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคตัยมูริดนั้น
ประวัติของญอมีย์
ญอมีย์ เป็นบุตรชายของเนซอมุดดีน อะหมัด ดัชตีย์ และมีฉายาว่า "คอตามุ้ลชุอารอ" เขาได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์การเขียนกวีของ กามาลคะยันดีย์ และสไตล์การเขียนมัษนาวีย์ ของ เนซอมี และ อามีร โคซ์โร และเนื่องจากความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการและเทคนิคต่างๆ เขาจึงถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่กว้างขวางมากที่สุดในด้านวรรณกรรมอิสลามและวิชาการของ ศตวรรษที่ 9 ฮ.ศ.
เขาศึกษาไวยากรณ์ภาษาอาหรับกับพ่อของเขา จากนั้นเขาก็ไปที่เฮรัตเพื่อศึกษาวรรณคดีและเทววิทยา จากนั้นเขาก็ออกเดินทางไปซามาร์คันด์และเริ่มศึกษาดาราศาสตร์ ต่อมาเขาได้รู้จักกับซูฟีย์ และถูกจัดให้อยู่ในแวดวงสาวกของเช็ค นักช์บันดี เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้อาวุโสของสายตาริกัต นอกจากนี้ เขาสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างมากในสาขาวิชาการที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ผู้มีความรู้ ในบทกวีเขาใช้ฉายา "ดัชตี" แต่แล้วเขาเลือกใช้ฉายาว่า "ญอมีย์" เนื่องจากสถานที่เกิดของเขาในเมือง ญอม เขาจึงใช้ฉายาว่า ญอมีย์
วันที่ญอมีย์เสียชีวิตตรงกับวันศุกร์ที่ 18 มุฮัรรอม ในปีฮิจเราะห์ศักราช 898 ตรงกับค.ศ. 1492 ที่เมืองเฮรัต และตามวันเกิดของเขา อายุขัยของเขาคือ 81 ปี ร่างของกวีชื่อดังคนนี้ถูกฝังไว้ข้างสุสานของซะอ์ดุดดีน กัชกอรีย์
รหัสยะของอิสลามในผลงานของอับดุลเราะห์มานญอมีย์ | |
คอตามุ้ลชุอารอ | |
ศตวรรษที่ 9 ฮ.ศ. | |
(ฮัฟโอร์แร็งก์) (นาฟาฮาตุ้ลอุนซ์) (บาฮาเร็สตอน) (บทกวี ดีวาน) (ลาวาเยห์) (มันชาอาต์) |