โอมาร์ คัยยาม นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านกวีนิพนธ์โลก
กียาซุดดีน อบุลฟัตฮ์ โอมาร์ บิน อิบรอฮีม คัยยาม เนชอบุรีย์ หรือที่รู้จักในชื่อ "คัยยาม" นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ โหราจารย์ และกวีชาวอิหร่าน เกิดในปี 439 ฮ.ศ. (ค.ศ. 1047) ในเมืองเนชอบูร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ แพทย์ และกวีคนนี้ใช้ชีวิตในยุคเซลจุค ฮุจญะตุ้ลฮัก เป็นหนึ่งในฉายาของเขา คัยยามได้เรียนรู้วิชาการที่แพร่หลายในยุคนั้นที่บ้านเกิดของเขา เช่น ปรัชญาและคณิตศาสตร์ นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าเขาเป็นลูกศิษย์ของอิบนิซินา นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการในสมัยของคัยยามหรือหลังจากเขา ต่างยอมรับถึงความเชี่ยวชาญด้านปรัชญาของเขา แม้ว่าคัยยาม เนชอบุรีย์ จะมีชื่อเสียงในด้านกวีเอก แต่เขาเป็นนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ซึ่งได้ค้นพบสูตรสำคัญทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ในช่วงชีวิตของเขา ในหนังสือเก่าๆ ได้บรรยายถึงชีวิตของคัยยามและผลงานของเขา รายละเอียดเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดและเสียชีวิตของเขามีรายงานที่แตกต่างกันออกไป แหล่งข้อมูลแรกที่แนะนำคัยยามโดยเนซอมี อารูดีย์ 4บทความที่เขียนขึ้นเมื่อประมาณปี 550 ฮ.ศ. (ค.ศ. 1155) ชีวประวัติที่2ของคัยยามเขียนโดยอบุล ฮะซัน อาลี บัยฮะกีในปี 556 ฮ.ศ. (ค.ศ.1161) ในหนังสือ "ตัตมาอุ้ลเศาะวานุ้ลฮิกมะฮ์" หรือ "ประวัติศาสตร์ฮุกามาอ์ "เนซอมี อารูดีย์ และ อบุล ฮะซัน บัยฮะกี ต่างก็เป็นผู้ร่วมสมัยกับคัยยามและเห็นเขาอย่างใกล้ชิด
ผลงานของ คัยยาม เนชอบุรีย์
ในปี ฮ.ศ. 461 (ค.ศ. 1068) คัยยาม เนชอบุรีย์เดินทางไปที่ซามัรกันด์ ที่นั่นเขาได้เขียนผลงานที่โดดเด่นของเขาเกี่ยวกับพีชคณิตร่วมกับอบูตอเฮ็ร อับดุลเราะห์มาน บิน อะหมัด ผู้พิพากษาของเมืองซามัรกันด์ จากนั้นเขาก็ไปที่อิศฟาฮาน ด้วยการสนับสนุนของมาลิกชาห์ เซลจูกีและที่ปรึกษาของเขานามว่า เนซอมุ้ลมุลก์ เขาเริ่มทำค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์ในหอดูดาวที่ก่อตั้งขึ้นตามคำสั่งของมาลิกชาห์ ผลการวิจัยคือ การปรับเปลี่ยนปฏิทินที่แพร่หลายในอิหร่าน และแก้ปฏิทินญาลาลี ด้วยการลอบสังหารเนซอมุ้ลมุลก์และมาลิกชาห์ ทำให้คัยยามต้องไปที่โคราซาน และทำงานด้านวิชาการส่วนใหญ่ในเมือง มัรว์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ที่คัยยามจัดหมวดหมู่สมการระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 3 จากนั้นใช้ภาพวาดเรขาคณิตตามภาคตัดทรงกรวย เขาจึงสามารถให้คำตอบทั่วไปสำหรับสมการทั้งหมดได้เกือบ4ศตวรรษก่อนเรอเน เดการ์ต คัยยามเขาประสบความสำเร็จที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ด้านพีชคณิตและวิทยาศาสตร์ คัยยาม ได้คิดค้นแนวคิดเชิงลึกในเรขาคณิต นอกจากนี้เขายังเขียนบทความสั้น ๆ เกี่ยวกับกลศาสตร์ อุทกศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ทฤษฎีดนตรี ฯลฯ ผลงานของคัยยาม ได้แก่ ริซาละฮ์ฟีบารอฮีนุ้ลญับร์วัลมุกอบาละฮ์(ภาษาอาหรับ), บทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประเด็น, ริซาละฮ์ฟิ้ลเกาว์วัลตักลีฟ (ภาษาอาหรับ), บทความเรื่องการกำหนดปริมาณ อัลฎิยาอุ้ลอักลีฟีเมาดูอิ้ลอิลมิ้ลกุลีย์ (ภาษาอาหรับ), ริซาละฮ์ดัรอิลม์กุลลียาตวุญูด, แปล อัลคุตบะตุ้ลฆุรออ์ ของ อิบนิซินา, และรุไบยาต.
รุไบยาตของคัยยาม
นอกเหนือจากการเรียนรู้วิชาการและเทคนิคต่างๆ ใน คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เรขาคณิต และปรัชญาแล้ว คัยยาม เนชอบุรีย์ยังเป็นกวีที่มีความสามารถและชื่อเสียงที่โด่งดังที่สุดในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมาระดับโลกก็เนื่องด้วยรุไบยาตของเขา ซึ่งถูกแปลครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษโดย "ฟิทซ์ เจอรัลด์" และใส่ชื่อของเขาให้อยู่4อันดับนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ โลก ได้แก่ โฮเมอร์ เชคสเปียร์ ดันเต้ และเกอเธ่ ชาวฝรั่งเศสแนะนำคัยยามในโลกตะวันตกโดยการแปลรุไบยาตของเขา ในปี ค.ศ. 1875 (ฮ.ศ.1291) การ์เซน ดูตาซี (ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียง) ได้นำรุไบยาตของคัยยามไปที่ฝรั่งเศส และในปีค.ศ. 1867 (ฮ.ศ.1283) นิโคลัส (กงสุลของสถานทูตฝรั่งเศสในเมืองรัชต์)ได้ตีพิมพ์การแปลรุไบยาตของคัยยามเป็นฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก อังเดร กิเดได้รู้จักกับรุไบยาตของคัยยาม ผ่านการแปลของฟิตซ์เจอรัลด์ บทกวีของคัยยามในรูปแบบของรุไบยาตเป็นบทกวีสั้น ๆ เรียบง่ายและในขณะเดียวกันก็มีความหมายทางปรัชญาที่ลึกซึ้งและเป็นผลมาจากปัญญาของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ต่อความเร้นลับของการสร้าง ประเด็นหลักในรุไบยาตของคัยยามคือ ความสงสัย การใส่ใจต่อความตาย สลายตัวตน และการรู้ถึงคุณค่าอายุขัยของมนุษย์
วันรำลึกถึงคัยยาม
คัยยามเสียชีวิตที่เมืองเนชอบูร์และถูกฝังที่นั่น หลุมฝังศพของคัยยามตั้งอยู่ในเมืองเนชอบูร์ในสวนซึ่งมีกุโบร์ของอิมามซอเดห์ มะห์รูก ตั้งอยู่ที่นั่นด้วย
วันที่ 18 พฤษภาคม ตรงกับวันที่ 28 โอร์เดเบเฮ็ช ได้รับการขนานนามว่าเป็น"วันรำลึกถึงคัยยาม"ในปฏิทินประจำชาติอิหร่านโอมาร์ คัยยาม นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านกวีนิพนธ์โลก | |
ฮ.ศ.439 | |
รุไบยาต |