ศูนย์วัฒนธรรมสถานทูตอิหร่าน
โอมาร์ คัยยาม

โอมาร์ คัยยาม

โอมาร์ คัยยาม
โอมาร์ บินอิบรอฮีม คัยยาม นีชาบูรีย์ ถูกรู้จักในนาม “คัยยาม” ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของอิหร่าน เพราะเขาคือนักปรัชญา นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักวรรณคดี นักนิติศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ ตำแหน่งด้านวิชาการของคัยยามมีความโดดเด่นกว่าด้านวรรณกรรม แต่ทั่วโลกกลับรู้จักเขาในด้านวรรณกรรมที่มีชื่อว่า “รุไบยาต”
ปีเกิดของเขาตามหลักฐานที่ยังคงมีอยู่คือช่วงศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1048) ผลงานวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดของคัยยาม อาทิเช่น การแก้ไขปฏิทินสุริยคติตามคำสั่งของ มาลิกชาฮ์ แห่งราชวงศ์เซลจุก ซึ่งปฏิทินดังกล่าวถูกรู้จักในชื่อ “ปฏิทินญะลาลี” (Jalali calendar) , การก่อสร้างหอดูดาวอิสฟาฮาน , การประดิษฐ์ตาชั่ง และการวิจัยทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น รุไบยาต ของคัยยาม เป็นชิ้นงานวรรณกรรมที่โด่งดังที่สุดของเขา และเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1131
สถานที่ฝังศพของคัยยามถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1962 ณ เมืองนีชาบูรซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเองและเป็นเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญของอิหร่านทั้งในด้านวิชาการ วัฒนธรรม และศิลปะ และถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวของภูมิภาคอีกด้วย
โอมาร์ คัยยาม
18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง “ฮะกีม โอมาร คัยยาม

18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง “ฮะกีม โอมาร คัยยาม

18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง “ฮะกีม โอมาร คัยยาม

วันที่ 28 เดือนอุรดีเบเฮชต์ ตามปฏิทินอิหร่าน ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง “ฮะกีม โอมาร คัยยาม” ; นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักกวี ชาวอิหร่านที่เกิดในยุคการปกครองของราชวงศ์เซลจุก ท่านถือกำเนิดที่เมืองเนชาบูร 

 

แม้ว่าสถานะทางวิชาการของ ท่านโอมาร คัยยาม  จะเหนือกว่าสถานะทางวรรณกรรมของท่านก็ตาม แต่ชื่อเสียงมาจากการเขียนบท “รุไบยาต”  ซึ่งผลงามนดังกล่าวมีชื่อเสียงระดับโลก

 

“รุไบยาต” ของท่านโอมาร คัยยาม นอกจากจะถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายแล้ว  Edward Fitzgerald ยังแปล รุไบยาต ของท่านโอมาร คัยยาม เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้ท่านโด่งดังมากขึ้นในฝั่งตะวันตก

 

กวีนิพนธ์ของโอมาร คัยยาม ในรูปแบบ รุไบยาต เป็นบทกวีสั้น ๆ  ที่เรียบง่ายโดยไม่มีศิลปะพิเศษใด ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความหมายทางปรัชญาที่ลึกซึ้งและเป็นผลมาจากความคิดอันลึกซึ้งของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการสร้างโลก

 

ท่านโอมาร คัยยาม เป็นผู้อำนวยการหอดูดาว Malekshahi ในรัชสมัยของ Malekshah และท่านเป็นผู้วางแผนแก้ไขปฏิทินอิหร่านให้เป็นปฏิทินสุริยคติ ซึ่งปฏิทินที่ถูกใช้ในอิหร่านในปัจจุบันเป็นผลงานจากการคำนวณของท่านโอมาร คัยยาม และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ อีกหลายคนในรัชสมัยของ Jalal al-Din Malik Shah แห่ง Seljuk และถูกเรียกว่าปฏิทิน Jalali ซึ่งการคำนวณปฏิทินนี้ถือว่ามีความแม่นยำมากที่สุด

 

ท่านโอมาร คัยยาม เสียชีวิตในบ้านเกิดของท่านเอง และตอนนี้หลุมฝังศพของเขาเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและสัญลักษณ์ของเมือง

ตัวอย่างบทกวีของท่าน โอมาร คัยยาม

 

มาเถอะเพื่อน พรุ่งนี้เราจะไม่หม่นหมอง

มาเถิดผองร่วมกันชื่นร่วมกันรื่นในชีวิต

พรุ่งนี้เราจะผ่านพ้นความหายนะแห่งชะตาลิขิต

มาร่วมมีความสุขกับเหล่าผู้มีชีวิต เจ็ดพันปี

18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง “ฮะกีม โอมาร คัยยาม
โอมาร์ คัยยาม นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านกวีนิพนธ์โลก

โอมาร์ คัยยาม นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านกวีนิพนธ์โลก

โอมาร์ คัยยาม นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านกวีนิพนธ์โลก

กียาซุดดีน อบุลฟัตฮ์ โอมาร์ บิน อิบรอฮีม คัยยาม เนชอบุรีย์ หรือที่รู้จักในชื่อ "คัยยาม" นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ โหราจารย์ และกวีชาวอิหร่าน เกิดในปี 439 ฮ.ศ. (ค.ศ. 1047) ในเมืองเนชอบูร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ แพทย์ และกวีคนนี้ใช้ชีวิตในยุคเซลจุค ฮุจญะตุ้ลฮัก เป็นหนึ่งในฉายาของเขา  คัยยามได้เรียนรู้วิชาการที่แพร่หลายในยุคนั้นที่บ้านเกิดของเขา เช่น ปรัชญาและคณิตศาสตร์ นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าเขาเป็นลูกศิษย์ของอิบนิซินา นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการในสมัยของคัยยามหรือหลังจากเขา ต่างยอมรับถึงความเชี่ยวชาญด้านปรัชญาของเขา แม้ว่าคัยยาม เนชอบุรีย์ จะมีชื่อเสียงในด้านกวีเอก แต่เขาเป็นนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ซึ่งได้ค้นพบสูตรสำคัญทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ในช่วงชีวิตของเขา ในหนังสือเก่าๆ ได้บรรยายถึงชีวิตของคัยยามและผลงานของเขา รายละเอียดเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดและเสียชีวิตของเขามีรายงานที่แตกต่างกันออกไป แหล่งข้อมูลแรกที่แนะนำคัยยามโดยเนซอมี อารูดีย์ 4บทความที่เขียนขึ้นเมื่อประมาณปี 550 ฮ.ศ. (ค.ศ. 1155) ชีวประวัติที่2ของคัยยามเขียนโดยอบุล ฮะซัน อาลี บัยฮะกีในปี 556 ฮ.ศ. (ค.ศ.1161) ในหนังสือ "ตัตมาอุ้ลเศาะวานุ้ลฮิกมะฮ์" หรือ "ประวัติศาสตร์ฮุกามาอ์ "เนซอมี อารูดีย์ และ อบุล ฮะซัน บัยฮะกี ต่างก็เป็นผู้ร่วมสมัยกับคัยยามและเห็นเขาอย่างใกล้ชิด

ผลงานของ คัยยาม เนชอบุรีย์

ในปี ฮ.ศ. 461 (ค.ศ. 1068) คัยยาม เนชอบุรีย์เดินทางไปที่ซามัรกันด์  ที่นั่นเขาได้เขียนผลงานที่โดดเด่นของเขาเกี่ยวกับพีชคณิตร่วมกับอบูตอเฮ็ร อับดุลเราะห์มาน บิน อะหมัด ผู้พิพากษาของเมืองซามัรกันด์ จากนั้นเขาก็ไปที่อิศฟาฮาน ด้วยการสนับสนุนของมาลิกชาห์ เซลจูกีและที่ปรึกษาของเขานามว่า เนซอมุ้ลมุลก์  เขาเริ่มทำค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์ในหอดูดาวที่ก่อตั้งขึ้นตามคำสั่งของมาลิกชาห์ ผลการวิจัยคือ การปรับเปลี่ยนปฏิทินที่แพร่หลายในอิหร่าน  และแก้ปฏิทินญาลาลี ด้วยการลอบสังหารเนซอมุ้ลมุลก์และมาลิกชาห์ ทำให้คัยยามต้องไปที่โคราซาน และทำงานด้านวิชาการส่วนใหญ่ในเมือง มัรว์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ที่คัยยามจัดหมวดหมู่สมการระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 3 จากนั้นใช้ภาพวาดเรขาคณิตตามภาคตัดทรงกรวย เขาจึงสามารถให้คำตอบทั่วไปสำหรับสมการทั้งหมดได้เกือบ4ศตวรรษก่อนเรอเน เดการ์ต คัยยามเขาประสบความสำเร็จที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ด้านพีชคณิตและวิทยาศาสตร์ คัยยาม ได้คิดค้นแนวคิดเชิงลึกในเรขาคณิต นอกจากนี้เขายังเขียนบทความสั้น ๆ เกี่ยวกับกลศาสตร์ อุทกศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ทฤษฎีดนตรี ฯลฯ ผลงานของคัยยาม ได้แก่ ริซาละฮ์ฟีบารอฮีนุ้ลญับร์วัลมุกอบาละฮ์(ภาษาอาหรับ), บทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประเด็น, ริซาละฮ์ฟิ้ลเกาว์วัลตักลีฟ (ภาษาอาหรับ), บทความเรื่องการกำหนดปริมาณ  อัลฎิยาอุ้ลอักลีฟีเมาดูอิ้ลอิลมิ้ลกุลีย์ (ภาษาอาหรับ), ริซาละฮ์ดัรอิลม์กุลลียาตวุญูด, แปล อัลคุตบะตุ้ลฆุรออ์ ของ อิบนิซินา, และรุไบยาต.

รุไบยาตของคัยยาม

นอกเหนือจากการเรียนรู้วิชาการและเทคนิคต่างๆ ใน คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เรขาคณิต และปรัชญาแล้ว คัยยาม เนชอบุรีย์ยังเป็นกวีที่มีความสามารถและชื่อเสียงที่โด่งดังที่สุดในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมาระดับโลกก็เนื่องด้วยรุไบยาตของเขา ซึ่งถูกแปลครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษโดย "ฟิทซ์ เจอรัลด์" และใส่ชื่อของเขาให้อยู่4อันดับนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ โลก ได้แก่ โฮเมอร์ เชคสเปียร์ ดันเต้ และเกอเธ่ ชาวฝรั่งเศสแนะนำคัยยามในโลกตะวันตกโดยการแปลรุไบยาตของเขา ในปี ค.ศ. 1875 (ฮ.ศ.1291) การ์เซน ดูตาซี (ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียง) ได้นำรุไบยาตของคัยยามไปที่ฝรั่งเศส และในปีค.ศ. 1867 (ฮ.ศ.1283)  นิโคลัส (กงสุลของสถานทูตฝรั่งเศสในเมืองรัชต์)ได้ตีพิมพ์การแปลรุไบยาตของคัยยามเป็นฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก  อังเดร กิเดได้รู้จักกับรุไบยาตของคัยยาม ผ่านการแปลของฟิตซ์เจอรัลด์ บทกวีของคัยยามในรูปแบบของรุไบยาตเป็นบทกวีสั้น ๆ เรียบง่ายและในขณะเดียวกันก็มีความหมายทางปรัชญาที่ลึกซึ้งและเป็นผลมาจากปัญญาของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ต่อความเร้นลับของการสร้าง  ประเด็นหลักในรุไบยาตของคัยยามคือ ความสงสัย การใส่ใจต่อความตาย สลายตัวตน และการรู้ถึงคุณค่าอายุขัยของมนุษย์

วันรำลึกถึงคัยยาม

คัยยามเสียชีวิตที่เมืองเนชอบูร์และถูกฝังที่นั่น หลุมฝังศพของคัยยามตั้งอยู่ในเมืองเนชอบูร์ในสวนซึ่งมีกุโบร์ของอิมามซอเดห์ มะห์รูก ตั้งอยู่ที่นั่นด้วย

วันที่ 18 พฤษภาคม ตรงกับวันที่ 28 โอร์เดเบเฮ็ช ได้รับการขนานนามว่าเป็น"วันรำลึกถึงคัยยาม"ในปฏิทินประจำชาติอิหร่าน
โอมาร์ คัยยาม นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านกวีนิพนธ์โลก
ฮ.ศ.439
รุไบยาต

องค์กรวัฒนธรรมและการสื่อสารอิสลามเป็นหนึ่งในองค์กรของอิหร่านที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม และก่อตั้งขึ้นในปี 2538[ดูเพิ่มเติม]

:

:

:

: